วิธีการเก็บยาน้ำของลูกอย่างถูกต้อง ตามคำแนะนำของกุมารแพทย์

02 March 2016
58160 view

วิธีการเก็บยาน้ำ

เด็กอายุน้อยกว่า สองขวบ ส่วนใหญ่แล้ว กุมารแพทย์จะให้รับประทานยาน้ำ เพราะง่ายต่อการกลืนและการดูดซึมในเด็กช่วงวัยนี้ แน่นอนค่ะ ยาน้ำเก็บรักษายากกว่ายาเม็ด เพราะมีส่วนผสมของน้ำหวานเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อโรค และแมลงต่างๆ วันนี้ mamaexpert นำความรู้ดีๆเกี่ยวกับเก็บรักษายาน้ำของลูกจาก หมออร พญ. กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล  มาฝากทุกบ้านดังนี้

คำถามจากคุณแม่ สอบถามค่ะ ก่อนหน้านี้ลูกสาวเป็นหวัด ไปหาหมอได้ยาจากคลินิคมาหลายตัว  ตอนนี้ไข้ลดแล้ว เหลือแค่น้ำมูกนิดหน่อย สามารถเก็บยาเอาไว้ใช้ครั้งต่อไปได้ไหมคะ สามารถเก็บได้ค่ะ ส่วนจะนานเท่าไหร่นั้น ขึ้นกับชนิดของยา

ยาน้ำของเด็กเก็บได้นานเท่าไหร่‬? 

ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ‬ มีคำแนะนำดังนี้ 

  1. ในกรณียาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อที่ต้องผสมน้ำนั้น เมื่อผสมผงยากับน้ำไปแล้ว สามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 7 วัน ที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส)
  2. ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า คือประมาณ 14 วัน
  3. หากเก็บไว้นานกว่านี้ ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง คือ กินยาไป ก็ไม่หาย
  4. ยาฆ่าเชื้อที่ผสมไปแล้ว ไม่สามารถเก็บไว้กินครั้งหน้าเวลาลูกไม่สบาย

ยาน้ำทั่วไป‬ มีคำแนะนำดังนี้

  1. ยาน้ำทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ สามารถเก็บได้นานไม่เกิน 6 เดือนหลังเปิดใช้ หรือไม่เกิน 1 ใน 4 ของเวลาที่เหลือ ก่อนวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ (อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเลือกวันที่มาถึงก่อน) เช่น เปิดใช้ยาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ฉลากบ่งบอกว่ายาหมดอายุ 17 พฤศจิกายน 2559 คือ เหลือเวลาประมาณ 12 เดือนก่อนหมดอายุ
  2. เมื่อเปิดใช้ยาไปแล้ว 3 เดือน ควรทิ้งยานั้นไปเลย ไม่สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน

ยาน้ำ‪จำเป็นต้องเก็บยาในตู้เย็นหรือไม่?

  1. โดยทั่วไปไม่จำเป็น หากบริเวณที่เก็บยาไม่ร้อนจนเกินไป เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศ
  2. แต่ถ้าที่บ้านอากาศค่อนข้างร้อน (มากกว่า 25 องศาเซลเซียส) แนะนำให้เก็บยาในตู้เย็นจะดีกว่า
  3. อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเก็บยาตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ก่อนที่จะนำยากลับมาใช้อีกครั้ง ควรสังเกตลักษณะของยาด้วยว่า เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
  4. หากมีสี กลิ่น รส เปลี่ยนแปลงไป น้ำยาขุ่นมีตะกอน หรือเขย่ายาแล้วก็ไม่กลับสู่สภาพเดิม ก็ควรทิ้งยาเหล่านั้นไป
  5. สิ่งสำคัญ ต้องเก็บยาในที่สูงให้พ้นมือเด็ก หรือเก็บในตู้ที่มีกุญแจล็อค เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาค่ะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ 

1.เช็ดตัวลดไข้ลงเร็วด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว 
2.คุณแม่แชร์ประสบการณ์ลูกชักจากไข้สูง 
3. อันตรายของยาลดไข้สำหรับเด็ก


คุณหมออร
  บทความโดย  :  พญ. กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล (หมออร)
 
ความชำนาญ : ต่อมไร้ท่อ
  ต้นสังกัด : รพ.สมิติเวชธนบุรี เวลาออกตรวจทุกวันพุธ 17.00-20.00 น.