ลูกตัวเล็ก
ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนมักจะเจอ ก็คือการที่ลูกตัวเล็ก มีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้เกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะกลัวว่าลูกจะมีการเติบโตที่ช้า และส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ ได้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็กนั้นเกิดจากอะไร และมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็ก เจริญเติบโตช้า
การที่ลูกตัวเล็กอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
- กรรมพันธุ์ โดยหากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเป็นคนตัวเล็ก ก็มีโอกาสที่ลูกจะตัวเล็กด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็พอมีวิธีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูกให้ดีที่สุดได้เช่นกัน
- การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ลูกเจริญเติบโตช้าและตัวเล็กได้ ซึ่งสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม และแร่ธาตุ วิตามินต่างๆ ที่จำเป็นนั่นเอง
- หากลูกมีสุขภาพที่ไม่ค่อยดี เจ็บป่วยบ่อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัวเล็กได้เช่นกัน เพราะการเจ็บป่วยจะไปขัดขวางพัฒนาการและการเจริญเติบโต ทำให้มีพัฒนาการที่ล่าช้าหรือบางคนอาจหยุดชะงักได้เลยทีเดียว ดังนั้นหากลูกไม่สบายบ่อยหรือมีโรคประจำตัว คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจดูแลมากเป็นพิเศษ
- พฤติกรรมการเลี้ยงดูก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของลูก ซึ่งหากคุณแม่มีการพาลูกทำกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต หรือพาลูกอออกกำลังกาย เล่นกีฬา ก็จะทำให้ลูกเติบโตสมวัย มีน้ำหนักและส่วนสูงที่เหมาะสมได้ แต่หากไม่ได้พาลูกทำกิจกรรมเหล่านี้เลย ก็อาจเป็นไปได้ที่ลูกจะตัวเล็กกว่าเกณฑ์นั่นเอง
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งการนอนในเด็กนับว่าสำคัญมาก เพราะเด็กต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้มีการเติบโตที่ดี ทั้งยังส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและด้านอื่นๆ อีกด้วย
ทำอย่างไรดี? หากลูกตัวเล็กต่ำกว่าเกณฑ์
ลูกตัวเล็ก มีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณ์ทำอย่างไรดี คุณแม่สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ให้ลูกทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกก็คืออาหาร ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นอย่างครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และเน้นอาหารจำพวก โปรตีน แคลเซียมมากเป็นพิเศษ นั่นก็เพราะ
- โปรตีนจะช่วยเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มกล้ามเนื้อ และมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของกระดูกอีกด้วย โดยพบว่าเด็กที่ขาดโปรตีนจะส่งผลให้ฮอร์โมน IGF-1 ต่ำลง ทำให้เด็กเตี้ย แคระแกร็น ซึ่งอาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ ชีส และโยเกิร์ต เป็นต้น โดยควรให้เด็กได้รับโปรตีนในแต่ละวันปริมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- แคลเซียมจะช่วยบำรุงกระดูกและเพิ่มส่วนสูงได้ ซึ่งเด็กควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมตามช่วงอายุ นั่นคือ 400 มิลลิกรัม/วัน สำหรับเด็กแรกเกิด-6 เดือนแรก, 600 มิลลิกรัม/วัน สำหรับเด็กวัย 6 เดือน-1 ปี, 700 มิลลิกรัม/วัน สำหรับเด็กวัย 1-3 ปี, 1000 มิลลิกรัม/วัน สำหรับเด็กวัย 4-8 ปี และ 1300 มิลลิกรัม/วัน สำหรับเด็กวัย 9-18 ปี ซึ่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ เต้าหู้ นม กุ้งแห้ง ผักคะน้า งา ข้าวโอ๊ต และปลา เป็นต้น
2. ดื่มนมที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง
โดยนอกจากให้ลูกกินอาหารมื้อหลักแล้ว การให้ลูกดื่มนมเสริมก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่ง Foremost นมโคแท้ 100% ก็เป็นนมที่เราอยากแนะนำ เพราะอัดแน่นไปด้วยโปรตีน แคลเซียมสูง และสารอาหารธรรมชาติอย่างหลากหลาย ทั้งวิตามินบี 2 วิตามินบี 12 ฟอสฟอรัสและไอโอดีน โอเมก้า 3 6 9 แถมยังผลิตจากนมโคแท้100% ที่คัดสรรคุณภาพมาแล้ว คุณแม่มั่นใจได้เลยว่าจะช่วยเสริมการเติบโตของลูกได้อย่างสมวัยที่สุด ทั้งร่างกายและสมอง ซึ่งในแต่ละช่วงอายุควรดื่มนมปริมาณเท่าไหร่ต่อวันมาดูกันเลย
- เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรดื่มนมวันละ 500 ml.
- เด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรดื่มนมวันละ 800 ml.
- ผู้ใหญ่ ควรดื่มนมวันละ 600 ml
3. ทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างการเติบโตของลูก
ชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มความสูงได้ดี เช่น
- การว่ายน้ำ
- เต้นแอโรบิค
- กระโดดเชือก
- เล่นโยคะสำหรับเด็ก
- วิ่งจ๊อกกิ้ง
- โหนบาร์
โดยกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมการเติบโตให้ลูกสูงตามวัยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย และเป็นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อีกด้วย ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกทั้งสิ้น โดยแนะนำให้ทำร่วมกันเป็นครอบครัว พ่อแม่ลูก เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ สร้างสายใยที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูกไปด้วยนั่นเอง
หมดกังวลกับปัญหาลูกตัวเล็ก เพียงให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะจากการดื่มนมเสริมที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูง และโปรตีน ซึ่งจะช่วยให้ลูกเติบโต มีน้ำหนักที่เหมาะสมและมีส่วนสูงตามเกณฑ์อย่างแน่นอน ทั้งนี้อย่าลืมพาลูกออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเติบโตของลูกด้วย รวมถึงการให้ลูกนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอก็สำคัญเช่นกัน
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. เกณฑ์การขึ้นน้ำหนักของเด็กกินนมแม่ 100%
2 ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับในแต่ละวัน แบ่งตามอายุ
3. ลูกกินนมแม่จ้ำม่ำได้ทำตามนี้เลย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team