รีวิวการดูแลสะดือเด็กแรกเกิดที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันสะดือติดเชื้อในเด็ก

17 May 2014
136784 view

สะดือติดเชื้อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะดือติดเชื้อ

ปกติสะดือเด็กแรกเกิดจะหลุดภายใน 7 วันหรืออย่างช้า 4 สัปดาห์ สายสะดือนี้ก็จะแห้งเหี่ยวหลุดไป เหลือร่องรอยเป็นแอ่งกลมๆ ที่เรียก ว่า “สะดือ”  แต่กว่าสายสะดือจะหลุดคุณแม่ต้องดูแลให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ 

รีวิวการดูแลสะดือเด็กแรกเกิดที่ถูกวิธี

รูปที่1 สะดือวันเเรก เรียกว่าสะดือสดส่วนพลาสติกสีเหลืองเรียกว่า Cord clamp คุณหมอใช้หนีบไว้แน่นๆไม่ให้เลือดไหล

 
รูปที่2 สะดือวันที่สอง เริ่มไม่สดแล้ว แต่ยังมีความชื้นอยู่ 

รูปที่3 สะดือวันที่3 เริ่มแห้งแล้ว ส่วนใหญ่คุณพยาบาลจะเอา Cord clamp ออก วันนี้เด็กคลอดเองเตรียมกลับบ้านแล้ว ส่วนเด็กผ่าคลอดอยู่ต่อค่ะ 

รูปที่4  สะดือวันที่4 เริ่มแห้ง ลงมาเรื่อยๆถึงส่วนกลางแล้ว แต่โคนสะดือ ยังแฉะอยู่ มีน้ำเหลืองซึมๆเล็กน้อย 


รูปที่5
สะดือวันที่5 เริ่มแห้งลงไปถึงโคนแล้วค่ะ แต่โคนจะดูแฉะมากหน้อย หากเช็ดไม่ถึงโคนจะมีปัญหาเรื่องติดเชื้อได้ 

รูปที่6 สะดือวันที่6 เริ่มจะหลุดแล้ว เหลือติ่งเล็กๆอย่าดึงนะคะ เดี๋ยวเลือดไหลไม่หยุด ต้องออดใจรอให้หลุดเอง 

 

รูปที่ 7 สะดือหลุด  ส่วนที่หลุดออกจะแห้ง แต่โคนสะดือจะมีน้ำเหลือซึมบางคนมีเลือดซิบๆอย่าตกใจ เช็ดต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะแห้งค่ะ คนที่ยังไม่หลุดอย่าเครียดนะ รอได้จ้า 

รูปที่8 โคนสะดือวันที่ 7 - 10 เช็ดต่อจนกว่าจะแห้งบางคนแห้งเร็วหยุดเช็ดได้

รูปที่9 โคนสะดือเป็นปกติแล้ว หยุดเช็คได้แล้วค่ะ 

5ขั้นตอนป้องกันสะดือติดเชื้อในเด็ก 

  1. ดูแลสะดือลูกให้แห้งอยู่เสมอ หลังอาบน้ำ ซับให้แห้งอย่างเบามือด้วยคอตตอนบัด
  2. เช็ดทำความสะอาดสะดือด้วย แอลกอฮอล์ 75 % หรือยาสีม่วง (Triple Dye) ที่โรงพยาบาลให้มาทาวันละครั้ง
  3. คุณแม่อย่าเผลอควรดึงสายสะดือที่เห็นว่ากำลังจะหลุดเพราะอาจทำให้เลือดไหล ปล่อยให้หลุดเองจะปลอดภัยที่สุด
  4. เปิดสะดือได้ตามปกติไม่ต้องใช้ผ้าก๊อซปิด เพราะอาจทำให้เกิดความอับชื้น มีกลิ่นได้
  5. การสวมใส่แพมเพิส ควรให้สะดือลูกอยู่เหนือ ขอบแพมเพิส ป้องกันการปิดทับทำให้อับชื้น

อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยสะดือติดเชื้อ

  1. รอบๆ สะดืออักเสบแดง สะดือแฉะ เป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น
  2. คุณแม่สัมผัสบริเวณสะดือแล้วลูกร้องด้วยความเจ็บปวด
  3. สะดือหลุดแล้วแต่ มีเลือดไหลซึมตลอดเวลา อาการดังกล่าวพบในเด็กที่ขาดวิตามินเค
  4. หลังสะดือหลุดตรงกลางกลายเป็นตุ่มแดง และมีน้ำเหลืองแฉะๆ อยู่ เรียกว่า กรานูโลมา(Granuloma) ต้องพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อทำการรักษาด้วยการจี้สะดือ

การเช็ดทำความสะอาดสะดือเด็กแรกเกิดเป็นเรื่องสำคัญมากๆเพราะหากดูแลไม่ดี เช็ดไม่ถูกต้อง ทำให้สะดือเด็กติดเชื้อ ต้องรักษายาวนาน เพราะฉนั้น ช่วงที่อยู่โรงพยาบาล คุณแม่ต้องฝึกทำเองบ่อยๆนะคะ หากไม่มั่นใจ ให้คุณพยาบาลประจำห้องเด็กสอนให้จนกว่าจะคล่องค่ะ 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. วิธีดูแลผิวก้นเด็กอ่อน

2. คลิปสาธิตขั้นตอนการอาบน้ำเด็กอ่อนอย่างถูกวิธี

3. เคล็ดไม่ลับกับการดูแลลูกน้อยให้สุขภาดีตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team