การวัดไอคิวของเด็ก ไอคิวเท่าไหร่ถือว่าปกติ

06 November 2014
26458 view

การวัดไอคิวของเด็ก

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

“ไอคิว” ย่อมาจากศัพท์เทคนิคทางการแพทย์  Intelligence Quotient หมายถึง เป็นระดับสติปัญญาหรือเชาวน์ปัญญาของคน เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมส่วนหนึ่ง ซึ่งจะถือว่าเป็นต้นทุนของแต่ละคน และอีกส่วนหนึ่งคือ ได้รับการกระตุ้นหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของสมองหรือไม่ ถ้ากระตุ้นน้อย แม้มีต้นทุนดี สมองก็ไม่พัฒนาเต็มตามความสามารถ เด็กก็จะมีไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังเช่นที่เกิดกับไทยในทุกวันนี้ไอคิวปกติค่าที่วัดได้จะอยู่ประมาณ 90-110 แต่สำหรับคนที่มีไอคิว  สูงหรือมีความฉลาดมาก ค่าที่วัดได้จะอยู่ประมาณ 120-130

การวัดไอคิวของเด็ก สำคัญอย่างไร

ไอคิวเป็นหน่วยคะแนนที่ใช้วัดอายุสมองกับอายุจริง คือ เป็นการวัดระดับการเรียนรู้ และสติปัญญา เพื่อดูว่าระดับการเรียนรู้หรือพัฒนาการสมองอยู่ระดับไหนเมื่อเทียบกับอายุจริง สมมุติว่า วัด ไอคิว ได้ 100 หมายความว่า อายุสมองเท่ากับอายุจริง เช่น ถ้าอายุ 20 ปี แสดงว่าอายุสมองคือ 20 เช่นกัน แต่ถ้าวัด ไอคิวได้ต่ำกว่า 100 แสดงว่าอายุสมองต่ำกว่าอายุจริง หรือถ้าวัด ไอคิว ได้มากกว่า 100 แสดงว่า อายุสมองมากกว่าอายุจริง

การวัดไอคิวของเด็ก เริ่มวัดได้เมื่อไหร่

เท่าที่มีการศึกษาคือตั้งแต่ 6 ขวบ ขึ้นไป เพราะมีระดับหรือเกณฑ์ในการเทียบเคียง ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ลงไปเราจะไม่เรียกว่าเป็นการวัด ไอคิวแต่จะเรียกว่าระดับพัฒนาการเมื่อเทียบกับอายุจริง หรือ ดีคิว (Development Quotient) เช่น ในเด็กอายุ 5 ขวบ ควรจะมีพัฒนาการตามวัย แต่ปรากฏ ว่าเด็กทำได้มาก กว่าแสดงว่ามีระดับพัฒนาการสูงกว่าอายุจริง แต่ถ้าอายุ 5 ขวบ แล้วยังไม่สามารถทำอะไรได้ ตามวัยแสดงว่าระดับพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย

เด็กที่มีไอคิวต่ำมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้แล้ว ขณะเดียวกันในเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอายุสมองมากกว่าอายุจริง เช่น อายุสมอง 15ปี แต่ความเป็นจริงเรียนอยู่ชั้น ป.4 ต้องไปเรียนกับเด็ก 10 ปี กรณีนี้ส่งผลให้เด็กไม่อยากเรียน ซึ่งเด้กไทยมีเด็กที่เป็นเด็กอัจฉริยะแล้วถูกจัดให้เรียนกับเด็กที่อายุสมองน้อยกว่าตัวเอง ทำให้เด็กเบื่อ ไม่สนใจเรียน กลายเป็นว่าเด็กไม่เรียนหนังสือ ทั้งที่สมองเขาดีมาก แต่ครู หรือพ่อแม่ไม่รู้ และไม่เข้าใจ ก็อาจคิดว่าเด็กเกเรได้ก็ค่ะ แล้วลูกคุณแม่ล่ะคะ ไอคิวน้อยไปหรือ สูงไปคะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. พัฒนาการเด็ก ด้านสติปัญญา ที่คุณแม่ต้องติดตาม 1000 วันแรกของชีวิต

2. วัยอนุบาลฉลาดรอบรู้ ด้วยพัฒนาปัญญาทั้ง 8

3. 1000 วันแรกกับพัฒนาการทางสมองของลูกรัก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team