อาหารเสริมสำเร็จรูปของเด็ก
ปัจจุบันมีอาหารเสริมหลากหลายชนิด หลายรส หลายยี่ห้อ อาหารเสริมสำเร็จรูปชนิดรับประทานได้ทันที ซึ่งจะเป็นชนิดเหลวบรรจุขวด ส่วนอาหารเสริมสำเร็จรูปที่ต้องผสมน้ำต้มสุกก่อนรับประทาน ซึ่งเป็นชนิดผงบรรจุกล่อง มักทำจากธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี แล้วสารต่างๆ ลงไป แต่ละบริษัทจะแข่งขันกันโปรโมทโฆษณา จุดขายสำคัญที่คุณแม่อาจจะคล้อยตามและหลงเป็นเหยื่อได้ คือคำว่า มีสารบำรุงสมอง ช่วยให้เด็กอยากอาหาร ช่วยเพิ่มน้ำหนัก ผลิตในต่างประเทศ จากการสังเกตพฤติกรรมคุณแม่ เมื่อเห็นคำว่า ” บำรุงสมอง ” และ ” เพิ่มน้ำหนัก ” ค่อนข้างจูงใจได้ดีทีเดียว เพราะแม่ทุกคนอยากให้ลูกฉลาดและ จ้ำม่ำ Mama Expert สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยอาหารรสมือเเม่ อาหารทำเองสดใหม่ไม่ปรุงรสนั้นดีที่สุด คุณแม่หลายคนคาใจใช่ไหมคะว่า อาหารเสริมสำเร็จรูปของลูกน้อยนั้นไม่ดีตรงไหน ? มาหาคำตอบไปพร้อมๆกันค่ะ
อาหารเสริมสำเร็จรูปของเด็ก ไม่ดีอย่างไร ?
Mama Expert สำรวจอาหารสำเร็จรูป 3 ตัวอย่างแล้วพบว่า มีส่วนผสมของสารชวนอ้วน ไม่น้อยเลยทีเดียวทำให้นึกถึงคำกล่าวของ นายแพทย์ประมินทร์ อนุกูลประเสริฐ สูติแพทย์ชื่อดังประจำโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ให้ความรู้กับแม่หลังคลอดเสมอๆว่าหากรักลูกทำอาหารให้ลูกทานเองดีที่สุด อย่าให้ลูกกินอาการกระป๋อง เพราะอาหารกะป๋องมีสารเเซ่บ คุณหมอให้คำจำกัดความของรสชาติอาหารกระป๋องทารกว่า ” ผสมสารแซ่บ ” กินเมื่อไหร่ก็แซ่บ!!! กินไม่หยุดน้ำหนักกระฉูดสมใจแม่ จริงตามที่คุณหมอกล่าว เรามาดูตัวอย่างอาหารเสริมสำเร็จรูปของทารก 3 ตัวอย่างมีส่วนผสมหลักที่ทำให้ลุกอ้วนและติดรสชาติ มีดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 มีส่วนผสมหลัก คือ
- แป้งสาลี 53%
- นมผงขาดมันเนย 24%
- น้ำตาล 12%
- น้ำมันปาล์ม 8%
ตัวอย่างที่ 2 มีส่วนผสมหลัก คือ
- แป้งข้าวเจ้า 47%
- แป้งถั่วเหลือง 21%
- น้ำตาล 16%
- นมผงขาดมันเนย 6%
- น้ำมันปาล์ม 3%
ตัวอย่างที่ 3 มีส่วนผสมหลัก คือ
- แป้งสาลี 40%
- นมผงขาดมันเนย 26%
- กล้วย 15%
- น้ำมันปาล์ม 8%
- น้ำตาล 8%
จากตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปทั้ง 3 ตัวอย่าง จะเห็นชัดเจนว่า มีปริมาณน้ำตาลที่สูงทีเดียวเมื่อเทียบกับอาหารทารก ลูกติดใจแน่ๆหากได้มีโอกาสลิ้มลองเพราะรสชาติหวาน ลูกรักกลายเป็นเด็กติดความหวานได้ ในวันที่ต้องรับประทานอาหารรสมือแม่ เด็กๆก็จะกลายเป็นเด็กทานยากขึ้นมาทันที เพราะเมนูของแม่ไม่เติมน้ำตาล นอกจากน้ำตาลแล้วยังมีแป้งสาลีด้วย ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 เดือนอาจแพ้แป้งสาลีได้ อาการแพ้ได้แก่ ผื่นขี้น น้ำมูกครืดคราด ท้องอืดงอแง ถ่ายเป็นมูก
จากข้อมูลข้างต้น คงทำให้คุณแม่เปลี่ยนใจที่จะไม่ให้ลูกทานอาหารกระป๋อง หันมาเป็นคุณแม่มืออาชีพที่สามารถทำอาหารให้ลูกรับประทานได้ด้วยตัวเอง หากไม่มีเวลามากคุณแม่สามารถทำอาหารเเช่เเข็งสัปดาห์ละครั้งได้ สู้ไปด้วยกัน Super mom ทำได้อยู่แล้ว!!!
บทความแนะนำคลิกเลย เมนูลูกรักแต่ละช่วงวัย
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. แช่แข็งอาหารลูกน้อยให้ถูกวิธี
2. 10 สุดยอดอาหารของลูกวัยกำลังหม่ำ
3. เคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยให้ลูกกินผักง่ายขึ้น สิ่งสำคัญอยู่ที่เมนูแรก