ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดื่มนมมากเกินไป แพทย์ชี้ดื่มนมมากส่งผลเสียต่อไต

18 September 2015
25302 view

ดื่มนมมากเกินไป

เนื่องจากนมเป็นแหล่งแคลเซี่ยม ที่สำคัญที่สุดของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สังคมไทยมีความเข้าใจผิดการดื่มนมมานาน โดยเฉพาะการอัดนมให้ขาว การอัดนมให้สูง ยิ่งในครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์ไม่สูง คุณพ่อคุณแม่ หวังดีอยากให้ลูกสูง ก็พยายามอัดให้กินนมเยอะๆ บางคนให้กินนมแทนน้ำ หรือเปลี่ยนเป็นนมที่มีแคลเซี่ยมสูง เพื่อหวังผลให้ลูกสูง วันนี้ Mama Expert นำความรู้เรื่องผลเสียเกี่ยวกับการดื่มนมมากเกินขนาด และคำถามคาใจของหลายๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาฝากค่ะ 

ตอบคำถามคาใจ ดื่มนมมากเกินไปอันตรายหรือไม่?

คำถาม : การกินนม หรือแคลเซี่ยมมากเกินไป มีผลเสียอะไรมั้ยคะ

คำตอบ : มีค่ะ อาจมีผลเสียต่อไต และเกิดปัญหาเรื่องอ้วนตามมา โดยเฉพาะถ้ากินนมรสหวานหรือช็อคโกแลต เด็กผู้หญิงที่อ้วน มีโอกาสเป็นสาวเร็ว อาจทำให้หยุดสูงเร็วตามไปด้วย

คำถาม : กินนมเยอะๆทำให้สูงขึ้นจริงรึป่าว

คำตอบ : การกินนมช่วยเรื่องความสูงได้เล็กน้อย แต่สิ่งที่นมช่วยได้แน่ๆ คือ ความแข็งแรงของกระดูก หากเด็กได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณเพียงพอ จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ค่ะ

คำถาม : เด็กๆควรกินนมมากน้อยแค่ไหนคะ ถึงจะพอดี

คำตอบ : เด็กแต่ละวัยก็ต้องการแคลเซี่ยมจากนม ในปริมาณที่ต่างกัน โดยเฉพาะในวัยรุ่น ที่ต้องการแคลเซี่ยมมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่โตเร็ว

คำถาม : จำเป็นต้องกินนมโปรตีนสูง ช่วยเรื่องความสูงมั้ยคะ

คำตอบ : ไม่มีความจำเป็นค่ะ แนะนำให้กินเป็นนมจืด จะดีที่สุด แต่ถ้าเด็กคนไหนที่เริ่มอ้วน แนะนำให้เปลี่ยนเป็นนม low fat ซึ่งได้ปริมาณแคลเซี่ยมเท่ากัน แต่ไขมันส่วนเกินลดลงค่ะ

ปริมาณนมที่ร่างกายควรได้รบแต่ละช่วงวัย

ช่วงอายุ 0 – 2 ปี ตามน้ำหนักตัว = สูตรคิดคำนวณ 
ช่วงอายุ 2 – 10 ปี  2 – 3 กล่อง หรือ  600 – 800 ml
ช่วงอายุ 11 – 18 ปี 3 – 4  กล่อง หรือ 1000 – 1300 ml
ผู้ใหญ่ 2 กล่อง หรือ 500-600 ml

** 1 กล่องมาตรฐานมี 250 ml **

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คำตอบจากเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะช่วยไขข้อข้องใจเรื่องกินนม กับความสูงให้ทุกๆคนได้เข้าใจกันอย่างถูกต้องนะคะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. เพิ่มน้ำนมแม่

2เทคนิคเพิ่มน้ำนมแบบง่ายๆ

3. ปัญหาการให้นมลูก

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert Editorial Team

ขอบคุณข้อมูล :  พญ.กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ