ลูกน้อยวัยแรกเกิดร้องไม่ยอมหยุด
เสียงร้องของเด็กเพื่อสื่อสารว่า เขาต้องการอะไร และเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา ณ เวลานั้น ในบางครั้งคุณแม่อาจไม่ทันสำรวจก็จับลูกโอ๋ๆ โอ๋ๆ อยู่นานก็ไม่หยุด เพราะบางครั้งลูกรักอาจไม่ได้ต้องการให้กอดหรือสัมผัส เเต่อาจเป็นเพราะ 12 ข้อดังนี้ …
12 สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดร้องไม่ยอมหยุด
- หนูร้องเพราะ หิวแล้ว อาจจะร้องอย่างเดียว หรือทำปากจุ๊บๆ จิ๊บๆ ตามมาด้วย
- หนูร้องเพราะเปียกชื้น ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีที่ขับถ่าย
- หนูร้องเพราะง่วงนอนแล้ว เป็นสัญญาณว่า แม่ๆ มาเล่านิทานกล่อมหนูหน่อยนะ
- หนูร้องเพราะต้องการให้อุ้ม เด็กเล็กต้องการ ไออุ่น ต้องการอยู่ในอ้อมกอดที่มั่นคง ปลอดภัย
- หนูร้องเพราะมีปัญหาในท้อง อาจจะปวดท้องหรือนมไม่ย่อย มีลมในกระเพาะทำให้อึดอัด คุณแม่นวดที่ท้องเบาๆ หรือทามหาหิงค์เพื่อลดอาการดังกล่าว
- หนูร้องเพราะอยากเรอ ลมเข้าไปในกระเพาะระหว่างดูดนม ให้จับลูกพาดบ่าลูบหลังเบาๆ จนกว่าจะมีเสียงเรอ หรืออุ้มเดินสักพักค่อยนอน
- หนูร้องเพราะอากาศเย็นหรือร้อนเกินไป ควรปรับอุณภูมิให้อบอุ่น สำหรับทารกควรเปิดเเอร์ที่ 27 องศา หากบ้านติดพัดลม ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
- หนูร้องเพราะอึดอัดเสื้อผ้าของลูก ฟิตแน่นไปหรือเปล่า ควรสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อบางเบา ใส่สบาย ไม่ควรสวมถุงมือถุงเท้า
- หนูร้องเพราะฟันขึ้น เด็กวัย 4 เดือนขึ้นไปพบได้ว่ามีฟันเริ่มงอกแล้ว ลูกจะมีอาการคันเหงือก เจ็บเหงือกแนะนำใช้ยางกัดเเช่เย็นให้ลูกกัดเล่นเพื่อผ่อนคลายลดความเจ็บปวด หรืออาจใช้ยาบรรเทาอาการปวด รายละเอียดของยา คลิกเพื่ออ่าน = ยาแก้ปวดสำหรับเด็กฟันขึ้น
- หนูร้องเพราะต้องการความสงบ บางทีเด็กอาจอยากพักผ่อน ควรจัดสิ่งเเวดล้อมให้เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้นที่รบกวนการนอน เช่น แสง สี เสียง
- หนูร้องเพราะต้องการเปลี่ยนสถานที่ บางทีเด็กอาจเบื่อกับสถานที่เดิม ๆ ให้ลองพาออกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศในสถานที่แปลกใหม่
- หนูร้องเพราะหนูกำลังป่วย คุณแม่ตรวจเช็คอาการลูกหากพบว่า มีไข้ ไม่สบาย ควรปรึกษากุมารแพทย์
เพราะการขับถ่าย ส่งผลต่ออารมณ์และพัฒนาการของลูก หากการขับถ่ายของลูกผิดปกติ ก็จะทำให้ลูกอารมณ์บูด คุณแม่ลองเช็กการขับถ่ายของลูกดูนะคะ ว่าปกติดีหรือไม่ แค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ มาเช็กกันเลย
คุณแม่ลองสังเกตดูนะคะ ที่ลูกร้องอาจต้องการบอกถึงความต้องการ 1 ใน 12 ข้อนี้ ให้คุณแม่ทราบ ค่อยเรียนรู้และจดจำแล้วคุณแม่จะรู้ว่า ลูกร้องเสียงนี้คืออะไร ลูกร้องโทนเสียงนี้เพราะอะไร … ขอให้ทุกบ้านมีความสุขกับการเลี้ยงลูกนะคะ
บทความแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่
1. วิธีรับมื่อเมื่อลูกร้องกลางดึก
2. วิธีรับมือกับเด็กร้องดินอาละวาด
3. ลูกร้องกลั้นอันตรายมั้ย ? วิธีรับมือเมื่อลูกร้องกลั้น
เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team