6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามีนำมาติดภรรยาขณะตั้งครรภ์

06 January 2016
19878 view

 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ระหว่างตั้งครรภ์ กิจกรรมบนเตียงของแต่ละคู่ส่วนมากลดลง เนื่องจากรู้สึกผิด รู้สึกอาย และรู้สึกกลัวไม่ปลอดภัยต่อแม่และลูกในครรภ์ ซึ่งแท้จริงแล้ว ทางการแพทย์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธุ์ระหว่างตั้งครรภ์ ทุกคู่สามารถร่วมรักกันได้ตามปกติ ยกเว้น คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพ สูติแพทย์จะแนะนำให้งดในบางช่วงของการตั้งครรภ์เท่านั้น

6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ปัญหาเรื่องเซ็กส์ และความต้องการทางเพศหากไม่เป็นไปตามปกติ หรือลดลง อาจทำให้ผู้ชายหลายคนแอบเเว๊บ ออกนอกลู่นอกทางได้ ซึ่งพบได้บ่อยๆว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มักติดโรคร้ายจากสามี ที่แอบไปนอนกับคนอื่นและเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ขณะที่ภรรยากำลังตั้งครรภ์ ส่งผลต่อสุขภาพแม่ หรือ ลูก หรือ ทั้งแม่และลูกในครรภ์ ซึ่ง6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ จากการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ได้แก่

1.เอดส์ (HIV/AIDS) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อาจตรวจพบบ้างไม่พบบ้างในระหว่างฝากครรภ์ แต่หากตรวจพบก่อนคลอดจะเป้นการดีต่อทารกในครรภ์ หลังคลอดทารกต้องเข้่รับการรักษาโดยการรับประทานยาต้านตั้งแต่วันแรกที่คลอด


2. เริม (Herpes) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อาการแสดง จะมีตุ่มใสบริเวณอวัยวะเพศ เป็นทีก็ปวดแสบปวดร้อน ติดไปแล้วก็จะเป็นๆหายๆไปและเป็นตลอดชีวิต อาการจะกำเริบตามสุขภาพของเรา หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เชื้อผ่านไปยังทารก ทำให้พิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ และถ้าเป็นในช่วงใกล้ตลอด ทารกจะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ ร้อยละ 30-50 จากการคลอด

3. ซิฟิลิส(Syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แผลที่อวัยวะเพศ ตามมาด้วยระยะออกผื่น ระยะยาวอาจก่อให้เกิดอาการทางสมอง
คุณแม่ตั้งครรภ์ถ้าเป็นซิฟิลิสมักจะเป็นชนิดแฝง กล่าวคือ ไม่มีอาการผิดปกติ แต่จะพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดเท่านั้น มีน้อยรายที่จะพบลักษณะแผลหรือผื่นจากซิฟิลิส ดังนั้น แม่ตั้งครรภ์ครรภ์ทุกคนควรได้รับการ ตรวจ VDRL หรือ RPRเมื่อท้องอ่อน (1-3 เดือน) 1 ครั้ง และควรตรวจซํ้าอีกครั้ง เมื่อท้องแก่ (6 เดือน-คลอด) ทั้งนี้เพราะอาจมีโอกาสได้รับเชื้อจากสามีซึ่งอาจจะไปสำส่อนทางเพศมา หลังจากการตรวจเลือดครั้งแรกก็ได้ ถ้าพบว่า VDRL หรือ RPR ให้ผลบวก ควรตรวจเลือดชนิดพิเศษ เช่น FTA-ABS หรือ TPHA ซ้ำเพื่อ ยืนยันว่า ผลบวกนี้มิใช่ผลบวกปลอม ซึ่งอาจจะพบได้บ้างในแม่ตั้งครรภ์โดยวิธีการตรวจ VDRL หรือ RPR ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลค่อนข้างให้ความ

4. พยาธิ (trichomonas) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว ที่ชื่อ Trichomonas vaginalis ปัจจุบันพบว่าลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับหลายปีก่อน อาการเเสดงตกขาวเหม็นสีเขียว คันในช่องคลอด หากเป็นโรคนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ โรคพยาธิในช่องคลอดที่มีอาการรุนแรง อาจกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้  แต่จะไม่มีการถ่ายทอดเชื้อไปที่ทารก

5. หนองในแท้ หนองในเทียม (GC/chlamydia) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2 โรคนี้มักมาเป็นแพคคู่ อาจมีแค่ตกขาวหรือลามเข้าไปถึงมดลูก-ปีกมดลูก จนอักเสบเป็นฝีหนอง มีผลมำให้มีบุตรยากหรือท้องนอกมดลูกในภายหลังได้โรคหนองในที่มีอาการรุนแรง อาจกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ หากมีเชื้อหนองใน ในช่องคลอดทารกที่คลอดผ่านทางช่องคลอดมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อ โดยเฉพาะที่บริเวณเยื่อบุตา ในประเทศไทยจะมีการหยอดตาทารกแรกเกิดด้วย 1% Silver Nitrate ทุกรายเพื่อลดโอกาสในการเกิดการติดเชื้อนี้

6. หูดหงอนไก่ (genital wart, condyloma acuminata) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ลักษณะเป็นหูดที่เกิดที่อวัยวะเพศ รวมทั้งที่ทวารหนัก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า human papilloma virus หรือ HPV โดยทั่วไปมักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อนคล้ายหงอนไก่ ตำแหน่งที่พบบริเวณแคมช่องคลอดและปากมดลูกของเพศหญิง ปกติโรคหูดหงอนไก่จะไม่มีอาการอะไร เว้นเสียแต่อาจมีการฉีกขาดเลือดออก หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จึงทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้ จำนวนและขนาดของหูดจะใหญ่ขึ้นในขณะตั้งครรภ์ในมารดาที่เป็นโรคหูดหงอนไก่นั้นไม่มีข้อบ่งชี้ให้ทำการผ่าตัดคลอด ยกเว้นแต่ว่าหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่มากและอาจทำให้เสียเลือดปริมาณมากขณะคลอด ก็จะทำการผ่าตัดคลอดลูก

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เคล็ดลับง่ายๆสำหรับบ้านที่อยากมีลูกชาย

2. เซ็กส์ตอนท้อง ต้องประมาณไหน?

3. อยากมีลูกแฝดทำอย่างไรดี เคล็ดลับตามนี้

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team