ขลิบปลายจู๋เด็ก
ขลิบจู๋เด็ก Circumcision ปัจจุบันนิยมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก โดยอาจจะมีเหตุผลทางศาสนาหรือความเชื่อตั้งแต่อดีตว่าการขลิบสามารถป้องกันมะเร็งได้ ปัจจุบันสมาคมกุมารแพทย์ประเทศอเมริกา ไม่แนะนำให้ทำการขลิบหนังปลายอวัยวะเพศให้กับเด็กทุกคน พ่อแม่ควรจะปรึกษากับแพทย์ถึงผลดีผลเสียของ การขลิบอวัยวะเพศชาย
ขลิบจู๋เด็กคืออะไร
การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เพื่อให้เปิดออกมาทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ เด็กในสหรัฐอเมริกาประมาณ 50% ผ่านการขลิบ แต่ตัวเลขในเอเชียและยุโรปน้อยกว่านั้นมาก ยกเว้นในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามที่ต้องขลิบตามหลักศาสนา เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด แพทย์บางท่านอาจแนะนำให้ทำภายใน 10 วันหลังคลอด โดยการขลิบในเด็กแรกเกิดนั้น แพทย์จะทำการขลิบด้วยเครื่องมือที่ครอบหนังบีบเข้าไปแล้วตัดออกโดยที่ไม่ต้องเย็บแผล หลังจากขลิบภายใน 24 ชั่วโมงแรกอาจมีเลือดซึม มีอาการบวม แต่หลังจากนั้นแผลก็จะแห้งและหายภายใน 1 สัปดาห์
ทำไมต้องขลิบจู๋เด็ก
1. ขลิบจู๋เด็กกรณีที่หนังหุ้มปลายรูดเปิดได้หมด
เวลาปัสสาวะให้รูดปลายเปิดจน หมดแล้วจึงปัสสาวะ น้ำปัสสาวะจะไม่เลอะติดส่วนหัวขององคชาติมาก เมื่อปัสสาวะเสร็จจึงรูดหนังหุ้มปลาย กลับคลุมส่วนหัวองคชาติไว้ เมื่ออาบน้ำเช้าและเย็นให้รูดปลายเปิด ฟอกสบู่ทำความสะอาดส่วนหัวองคชาติ เมื่อเช็ดตัวก็รูดปลายเปิดซับผิวให้แห้ง แล้วจึงรูดหนังหุ้มปลายกลับคลุมส่วนหัวองคชาติไว้
2. ขลิบจู๋เด็กกรณีที่หนังหุ้มปลายตีบ รูดเปิดให้เห็นส่วนหัวองคชาติไม่ได้
เวลาปัสสาวะให้รูดปลายเปิดเท่าที่จะทำได้แล้วปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะเสร็จ ควรล้างน้ำแล้วซับแห้ง จึงรูดปิดคลุมส่วนหัวองคชาติไว้ เมื่ออาบน้ำเช้าและเย็นให้รูดปลายเปิดเท่าที่จะทำได้ แล้วฟอกสบู่ทำความสะอาด เมื่อเช็ดตัวก็รูดปลายเปิดเท่าที่จะทำได้ ซับแห้งแล้วจึงรูดปิด
3. ขลิบจู๋เด็กหากมีการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ (Balanitis)
บางคนที่มีหนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก หรือไม่ค่อยรูดเปิดทำความสะอาด หรือในบางรายที่แพ้สบู่ น้ำยาซักผ้า หรือน้ำยาฆ่าอสุจิในถุงยางอนามัย จะมีการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ และอาจมีการติดเชื้อยีสต์แทรกซ้อนได้
ไม่ขลิบจู๋เด็กได้หรือไม่
ถ้าหากในครอบครัวมีความเชื่อหรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาว่าการขลิบเป็นสิ่งที่ดี ก็สามารถให้แพทย์ทำให้ได้ตั้งแต่แรกเกิด เพราะข้อดีของการขลิบก็คือ ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ส่วนข้อเสียที่มีก็คือ เมื่อเด็กโตขึ้นเวลาที่มีการยืดตัวของปลายอวัยวะเพศอาจทำให้สูญเสียความรู้สึกที่บริเวณส่วนปลายอวัยวะไปได้บ้าง แต่หากไม่ขลิบ ก็มีโอกาสที่จะหมักหมมและอักเสบติดเชื้อได้ หากว่าดูแลความสะอาดได้ไม่ดีพอ แต่ถ้าดูแลรักษาความสะอาดเหมาะสม โดยการรูดหนังหุ้มปลายขึ้นทุกครั้งที่ปัสสาวะและอาบน้ำ โอกาสที่น้ำปัสสาวะจะหมักหมมที่ส่วนหนังหุ้มปลายก็จะลดลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
ผลดีที่คาดว่าจะได้รับจากการขลิบจู๋เด็ก
1. ผลดีของการขลิบจู๋เด็ก
- การขลิบจะลดการติดเชื้อและการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งจะลดการเกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ
- การขลิบจะป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การขลิบจะลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดโรคไต
- การขลิบจะทำให้ทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศได้ง่าย
- การขลิบตั้งแต่เด็กจะป้องกันการขลิบหนังหุ้มปลายในตอนแก่
- ป้องกันการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
2. ผลเสียของการขลิบจู๋เด็ก
- อาจจะทำให้เลือดออกหรือติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
- การขลิบจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ผู้ปกครองควรจะปรึกษากับแพทย์เรื่องการใช้ยาระงับอาการเจ็บปวด
- การขลิบเป็นการป้องกัน แต่ยังไม่มีหลักประกันว่าหลังขลิบจะปลอดภัยจากการเป็นโรคติดเชื้อหรือมะเร็ง
- ตัดหนังหุ้มปลายมากหรือน้อยเกินไป
- การขลิบจะทำให้ปลายอวัยวะเพศถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ลดความต้องการทางเพศ
วิธีการขลิบจู๋เด็ก
- ในเด็กจะให้อดอาหารก่อนทำ แต่สำหรับผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ผู้ป่วยนอนราบบนเตียง สำหรับเด็กต้องจับหรือมัดแขนขา
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศและส่วนหัวเหน่าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ฉีดยาชาที่บริเวณหัวเหน่า
- ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ แล้วเย็บ ใช้ผ้าทำแผลปิดแผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนได้ แทรกซ้อนได้ถึงร้อยละ 2 อาการแทรกซ้อนที่พบได้แก่ การมีเลือดออกบริเวณผ่าตัด มีการอักเสบติดเชื้อเป็นต้น และยังมีรายงานการเกิดภยันตรายต่ออวัยวะเพศ จนเกิดท่อปัสสาวะตีบตัน และที่ร้ายที่สุดคือปลายอวัยวะเพศได้รับภยันตรายจนขาด
การดูแลหลังขลิบจู๋เด็ก
เลี่ยงไม่ให้แผลถูกน้ำเพราะอาจจะทำให้แผลอักเสบติดเชื้อโรคได้ และล้างให้สะอาดด้วยน้ำทุกครั้งหลังลูกมีการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ แล้วซับให้แห้ง โดยทั่วไปแผลจะแห้งดีภายใน 1 สัปดาห์
ในปัจจุบันสมาคมกุมารแพทย์ประเทศอเมริกาไม่แนะนำให้ทำการขลิบหนังปลายอวัยวะเพศให้กับเด็กทุกคน คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกขลิบหนังหุ้มปลาย ( กรณีไม่ตามศาสนา) ควรจะปรึกษากับแพทย์ถึงผลดีผลเสียของการขลิบอย่างละเอียดก่อน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ปัญหาลูกชาย เมื่อลูกชายชอบเล่นจู๋ แก้อย่างไรมาหาคำตอบกัน
2. วิธีสังเกตไส้เลื่อนในเด็ก ลูกสาวก็เป็นไส้เลื่อนได้
3. พูดคุยเรื่องเพศกับลูกแต่ละช่วงวัย เริ่มเมื่อไหร่ อย่างไร
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
1. babycenter.Circumcision in newborn boys.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/uvXrfr .[ค้นคว้าเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2560 ].
2. wikipedia.Circumcision.เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Circumcision .[ค้นคว้าเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2560].