อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
คุณแม่หลายคนมาไม่ถึงสัปดาห์ที่40 ซึ่งเป็นวันนัดคลอด เพราะตามหลักการแพทย์นั้นอายุครรภ์สัปดาห์ที่37 -42 เป็นอายุครรภ์ครบกำหนด คุณแม่บางคนอาจคลอดในสัปดาห์ที่ 37เป็นต้นไป ไม่ได้เป็นการคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใดค่ะ เพราะคำว่ากำหนดคลอดนั้น คือการคาดคะเน วันกลางๆเพื่อเป็นการเเจ้งให้คุณแม่ได้เตรียมความพร้อมค่ะ เรามาดูว่า ลูกรักเป็นอย่างไร พร้อมจะออกมาแล้วหรือยัง
พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
การเจริญเติบโตโดยเฉลี่ย ทารกยาวประมาณ 48 ซม หนักประมาณ 3,250 กรัม ทารกส่วนใหญ่กลับหัว และเริ่มเคลื่อนตัวลงสู่หนทางคลอด หรือ ช่องเชิงกรานแล้ว ทารกอาจดิ้นน้อยลงเพราะทารกมีขนาดโตคับพื้นที่ของมดลูก แต่เฉลี่ยแล้ว ทารกยังคงดิ้นชั่วโมงละ 2 -3 ครั้ง
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
มาถึงวันนี้แล้ว คุณแม่ตั้งตารอมาแสนนาน แน่นอนสิ่งที่คุณแม่เผชิญอยู่ คืออาจเจ็บเชิงกราน ปวดอวยวะเพศ ปวดขา ปวดบั้นเอว สารพัดปวด เป็นเพราะว่า เจ้าตัวน้อย กำลังเคลื่อนตัวลงสู่ช่องเชิงกราน คุณแม่จึงมีอาการปวดต่างๆช่วงเวลาสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตุอาการเจ็บครรภ์จริง และอาการที่บ่งบอกว่า คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลในทันที ดังนี้
- มูกเลือดออกทางช่องคลอด
-
น้ำเดิน น้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก จะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆเหมือนปัสสาวะไหลออกจากช่องคลอด
- เจ็บท้องคลอด หากมีอาการเจ็บมากสม่ำเสมอทุกๆ 5 นาที ไม่ต้องรอให้มีน้ำเดินหรือมูกเลือด ให้ไปโรงพยาบาลทันที
สำหรับคุณแม่ที่อายุครรภ์ 40สัปดาห์แล้วแต่ไม่มีอาการเตือนใดๆ อย่ากังวลไปนะคะ เพราะ รอได้ถึงสัปดาห์ที่42ค่ะ โดยปกติแล้ว หากเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่41 สูติแพทย์ จะนัดตรวจและกระตุ้นการคลอดให้ และหากกระตุ้นแล้วไม่ไม่ความก้วหน้า คือ ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ขั้นตอนต่อไป คือใช้ยากระตุ้นคลอดคุณแม่ต้องนอนโรงพยาบาล และ ขั้นตอนสุดท้าย หากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล คุณแม่จะต้องทำการผ่าตัดคลอดเป็นลำดับต่อไปค่ะ ว่าที่
การตรวจครรภ์ในช่วง อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
- นัดตรวจครรภ์ตามปกติ
- ประเมินขนาดและท่าทารก
- อาจตรวจเลือดทารกในครรภ์
อาหารบำรุงครรภ์ อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
อายุครรภ์ 40สัปดาห์ คุณแม่จำเป็นต้องได้รับพลังงานให้เพียงพอในทุกๆวัน เพราะไม่รู้ว่าเจ้าตัวเล็กจะออกมาวันไหนในคุณแม่คลอดธรรมชาติยากที่จะกำหนด เพราะฉะนั้นต้องเตรียมพลังงานไว้เบ่งให้เต็มที่ การเตรียมพร้อมของคุณแม่สัปดาห์ที่ 40 นี้ด้วยการรับประทาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน อาหารกลุ่มวิตามินบี 1 วิตามินซี ห้ามอดอาหารในระยะนี้เดี๋ยวไม่มีแรงอุ้มเจ้าตัวน้อย
คุณพ่อ ช่วงนี้ต้องทำตัวให้ติดต่อง่าย หรืออยู่ด้วยกันนะคะ เพราะการเจ็บครรภ์คลอดของคุณแม่แต่ละคน แตกต่างกัน การไปพบแพทย์ในเวลาที่เหมาะสม ช่วยคุณแม่และลูกปลอดภัยที่สุดค่ะ
อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร
คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์ใ(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า85 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส
2.40 weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย.https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/40-weeks-pregnant-what-to-expect . [ค้นคว้าเมื่อ 29 กันยายน 2560]
3.Your pregnancy: 40 weeks. เข้าถึงโดย. https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-40-weeks_1080.bc .[ค้นคว้าเมื่อ 29 กันยายน 2560]