พบการระบาดของไวรัสซิกา พบผู้ป่วย 8ราย ในจังหวัดเพชรบุรี
ชาวบ้านโวยพบผู้ป่วยเป็นไวรัส "ซิกา" ในต.นาพันสาม อ.เมืองเพชรบุรี นับสิบราย มีการตรวจสอบยืนยัน ส่งรักษาอาการ แต่ อบต.ในพื้นที่กลับไม่ได้รับแจ้งให้ช่วยควบคุมป้องกัน ซ้ำเมื่อถามไปยัง สสจ.กลับโบ้ยให้ถามกระทรวงสาธารณสุขเสียอีก... เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 14 พ.ย.ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ได้มีชาวบ้านในพื้นที่ ม.7 ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี แจ้งว่า ชาวบ้านหมู่ 7 จำนวนหลายราย ป่วยมีไข้ และผื่นขึ้นตามตัวจำนวน และมีข้อมูลระบุชี้ชัดว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งผู้ป่วยมีทั้งเด็กนักเรียน และชาวบ้านในพื้นที่ โดยพบว่าลุกลามจากพื้นที่หมู่ 7 ไปยังพื้นที่หมู่ 8 ต.นาพันสามทั้งนี้ เบื้องต้นพบว่า ผู้ป่วยมีประวัติทำงานอยู่กทม. และกลับมาเยี่ยมบ้าน และป่วยเป็นไข้ซิกา ถูกนำตัวไปทำการรักษา และมีอาการดีขึ้น แต่ต่อมามีการพบผู้ป่วยซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่เดียวกันเริ่มเป็นติดต่อกันเพิ่มขึ้น
ชาวบ้านหวาดผวา วิตกหวั่นติดเชื้อซิกา
โดยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลนาพันสาม และสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ได้เเข้าไปทำการควบคุมโรคและดูแลผู้ป่วยแต่ละรายแล้ว แต่ไม่มีการประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมโรคให้ชาวบ้านหรือพื้นที่ใกล้เคียงได้ทราบแต่อย่างใด ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต่างวิตกกังวล ด้านนายวรวิสูตร ฉิมพาลี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม กล่าวว่า เท่าที่ทราบ พบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย แต่ไม่มีข้อมูลแจ้งมายังทาง อบต.แต่อย่างใด ซึ่งหากแจ้งมาทาง อบต.จะได้ให้ความร่วมมือกับทางสาธารณสุขจังหวัด และทาง รพ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัว และการป้องกัน รวมทั้งจะได้ให้การพ่นหมอกควันฆ่ายุงและทรายอะเบท ซึ่งเราก็พร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ข้อเท็จจริงจนถึงขณะนี้ ทาง อบต.ยังไม่ทราบในข้อมูลรายละเอียดแต่อย่างใด มีแต่กขอการสนับสนุน แต่ไม่แจ้งเรื่องให้ทราบว่า มีการระบาดอย่างไร ระบาดที่ไหน ติดต่อไปกี่รายแล้ว
รวิสูตร ฉิมพาลี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามติงสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีไม่ประกาศให้ชาวบ้านรู้
"เราไม่รู้ข้อมูลเลย เป็นปัญหาต่อการทำงานอย่างมาก เพราะไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการ เราก็เกรงว่าหาก สตง.มาตรวจ เราก็ไม่มีข้อมูลยืนยันเรื่องการระบาดในเรื่องดังกล่าว เราเองก็ลำบากใจในการทำงานเหมือนกันว่า ทำไมถึงต้อปกปิด มีผู้ตั้งครรภ์เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จะเข้ามาในพื้นที่ เราเองยังต้องโทรศัพท์บอกว่า อย่าเข้ามา เพราะอาจถูกยุงที่มีเชื้อกัดเข้า จะเป็นอันตราย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ และตี่นตัวในการช่วยกันป้องกันและกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะ ของโรค ยิ่งพื้นที่ จ.เพชรบุรี เพิ่งประสบภาวะน้ำท่วมมาใหม่ๆ ก็จะมีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ยุงลายจำนวนมาก เราจะได้ช่วยกันในการป้องกันและควบคุมโรคให้เข้าสู่สภาวะปกติต่อไป"
"เราไม่รู้ข้อมูลเลย เป็นปัญหาต่อการทำงานอย่างมาก เพราะไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการ เราก็เกรงว่าหาก สตง.มาตรวจ เราก็ไม่มีข้อมูลยืนยันเรื่องการระบาดในเรื่องดังกล่าว เราเองก็ลำบากใจในการทำงานเหมือนกันว่า ทำไมถึงต้อปกปิด มีผู้ตั้งครรภ์เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จะเข้ามาในพื้นที่ เราเองยังต้องโทรศัพท์บอกว่า อย่าเข้ามา เพราะอาจถูกยุงที่มีเชื้อกัดเข้า จะเป็นอันตราย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ และตี่นตัวในการช่วยกันป้องกันและกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะ ของโรค ยิ่งพื้นที่ จ.เพชรบุรี เพิ่งประสบภาวะน้ำท่วมมาใหม่ๆ ก็จะมีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ยุงลายจำนวนมาก เราจะได้ช่วยกันในการป้องกันและควบคุมโรคให้เข้าสู่สภาวะปกติต่อไป"
ปลัดอบต.นาพันสาม กล่าวต่อมาผู้สื่อข่าว ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลนาพันสาม เพื่อขอทราบรายละเอียด แต่ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆ ได้ ต้องขออนุญาตจากทางสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีเท่านั้นที่จะเป็นผู้ให้ข่าวได้ เมื่อโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากนายแพทย์ประจักษ์ วัฒนกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีว่า มีข้อมูลรายงานเรื่องการพบผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสซิกา บ้างหรือไม่เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ ต.นาพันสาม หลายรายได้ต้องสอบถามไปทางกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นหน่วยงานเดียวที่มีห้องแล็บ และสามารถตรวจสอบยืนยันโรค
เป็นเรื่องที่ต้องระะวังสำหรับคุณแม่ที่วางแผนกำลังจะตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรเลี่ยงที่จะตั้งเดินทางไปในเขตพื้นที่ดังกล่าวเพราะอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/782987
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/782987