ไวรัสโรต้า
ไวรัสโรต้า พบระบาดมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ขวบก่อให้เกิดภาวะท้องร่วงรุนแรง เชื้อไวรัสพบบ่อยที่สุด ในบรรดาเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในเด็กเล็ก เมื่อเทียบกับอาการท้องร่วงที่มาจากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญและคุณแม่จำเป็นมากๆที่ต้องรู้เท่าทันไวรัสตัวร้าย รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
25 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสโรต้า
- อุณหภูมิเริ่มลดลง ความหนาว จะเป็นองค์ประกอบ หรือการลดลงของอุณหภูมิ จะเพิ่มขึ้น ต่ออุบัติการของท้องเสียไวรัสโรต้า
- โรต้าไวรัสได้ค้นพบ ตั้งแต่ปี 1973 โดยแพทย์หญิงชาวออสเตรเลีย Prof. Dr.Ruth Bishop และคณะ โดยดูจากกล้องจุลทัศน์ อิเลคตรอน มีรูปคล้ายวงล้อเกวียน (Roter) ต่อมา 1974 เลยตั้งชื่อตามรูปร่างว่า Rota หรือ Rotavirus โรต้า
- โรคนี้ทำให้เกิดไข้ อาเจียน และตามด้วย ท้องเสีย พบได้บ่อยในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
- ไวรัสโรต้า เป็น RNA ไวรัสที่เป็นชิ้นๆ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ จึงมีการจำแนกสายพันธุ์รูปแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่เอ เช่น H1N1, H3N2, H5N1 และ H7N9 ส่วนไวรัสโรตา จะเป็น G1P6, G2P8, G3P10 และ G4P6 เป็นต้น การแยกสายพันธุ์ จะจำแนกได้มากกว่า ไข้หวัดใหญ่เสียอีก
- ท้องเสียโรต้าไวรัส เป็นแล้วเป็นอีกได้ แบบไข้หวัดใหญ่ แต่การเป็นครั้งต่อๆ ไป อาการรุนแรงจะน้อยลง หรือพูดได้ว่า เด็กอาจจะมีการติดเชื้อแทบทุกปี แต่ ติดครั้งหลังๆ หรือโตขึ้นแล้ว จะมีอาการน้อย และจะไม่มีอาการ โรคจึงเป็นในเด็กเล็ก
- โรต้าไวรัส เป็นไวรัสที่พบได้ ทั้งในคนและสัตว์นานาชนิด แต่ส่วนใหญ่โรต้าไวรัสที่พบในคน จะเป็นโรตาเอ
- การพบในสัตว์ต่างชนิด จะพบมีการแลกชิ้นส่วนกันได้ และบางครั้งอาจเกิดสายพันธุ์ใหม่ได้ เช่นเดียวกับ ไข้หวัดใหญ่ เอ
- ผู้สูงอายุ หรือภูมิต้านทานต่ำ การติดเชื้ออาจ ทำให้มีอาการได้
- การติดเชื้อ โดยการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ปนเปื้อนเชื้อโรค และโรคนั้นอาจจะติดต่อ โดยทางระบบทางเดินหายใจได้
- โรคจะพบบ่อยในหน้าหนาว อุบัติการจะสูง ตามความหนาวที่เกิดขึ้น ยิ่งหนาวยิ่งพบมาก
- ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 2 วัน หลังรับเชื้อ
- เชื้อติดได้ง่ายมาก ใช้จำนวนไวรัสที่น้อยมากๆ และเชื้อมีความคงทนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอากาศเย็น จึงติดจาก คนสู่คน โดยเฉพาะการทิ้งผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้กันมาก เป็นการแพร่กระจายที่ดี เพราะปริมาณโรคที่ออกมาในอุจจาระ ผู้ป่วย มีจำนวนมหาศาล
- อาการ จะเริ่มต้นไข้สูง อาเจียน แล้วตามด้วยท้องเสีย การถ่ายจะเริ่มถ่ายจากวันละน้อยครั้งและมากขึ้น ตามลำดับ และเวลาหาย จะหายหรือหยุดถ่ายทันที ไม่เหมือนอหิวาตกโรค วันแรกจะถ่ายมหาศาลและน้อยลงตามลำดับ ซึ่งตรงข้ามกัน ผมเป็น หมอรับปรึกษา จะดี เพราะถ่ายมาก จะส่งมาปรึกษา จุ่งขึ้นก็ หยุดถ่าย แสดวว่าผมเก่ง
- อาการท้องเสีย เกิดจากไวรัส ไปทำลายเยื่อบุลำไส้ ให้ villa สั้นลง พื้นที่ดูดซึมลดลง และยังทำลาย Na-K ATPase หรือการปั๊มโซเดียม ทำให้การดูดซึมโซเดียมเสีย
- เชื้อไวรัสจะทำลาย เยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้การดูดซึมสารอาหารลดลง เอนไซม์ แลคเทสลดลง จึงย่อยนมที่มีน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ บางครั้งจำเป็นต้องที่ให้นม ที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส (ทั้งนมแม่และนมวัว มีน้ำตาลแลคโตส)
- น้ำตาลแลคโตส ที่ไม่ถูกย่อยจะถูกเฟอร์เมนท์เป็นกรด ทำให้เกิดการระคายเคือง เวลาถ่าย จึง “ก้นแดง”
- ในรายรุนแรง การขาดน้ำจะมาก จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล ให้นำ้เกลือ ชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่ขาดไป
- ท้องเสียโรตา เป็นได้ทั้งโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนา
- การดูแลสุขอนามัย จะช่วยป้องกันโรคได้ แต่ไม่ทั้งหมด เพราะในหน้าหนาว โอกาสสัมผัสเชื้อ เกิดขึ้นได้ง่าย โดยเราไม่รู้ตัว โรคจึงเกิดได้ แม้ประเทศที่มีสุขอนามัยดีมาก เช่น สแกนดิเนเวีย ก็ยังพบโรคนี้ได้สูงเช่นกัน
- การขับถ่ายไวรัส ออกมาจากผู้ป่วย ปริมาณสูงมากจริงๆ การเอาน้ำล้างมือมารดา ที่ดูแลลูกป่วยไปตรวจ ยังพบเชื้อเลย
- การวินิจฉัย ดูจากอาการของโรค โดยเฉพาะอายุ และท้องเสียในฤดูหนาว ก็คงหนีไม่พ้น สาเหตุจากไวรัสโรต้า โนโร และอื่นๆ
- การตรวจเชื้อจากอุจจาระ ทำได้ง่าย เพราะปริมาณไวรัส ที่ขับออกมาสูงมากจริงๆ การตรวจ rapid test หรือ การตรวจทางชีวโมเลกุล ก็ได้
- ทางศูนย์ไวรัสจุฬา ติดตามการระบาดมากว่า 10 ปี ปีที่แล้วเป็น "G3" มากที่สุด ปีนี้กำลังติดตาม ศูนย์ไวรัสจุฬา ทำวิจัยละเอียดมาตลอด ใครสนใจขอข้อมูล ติดต่อได้
- การรักษา จะรักษาตามอาการ โดยมากจะหายภายใน 3-5 วัน ส่วนน้อยจะเรื้อรัง จากการดูดซึมสารอาหารแลคโตสไม่ได้ ต้องให้สารอาหารหรือนม ไม่มีแลคโตสอีกระยะหนึ่ง จากการพร่องของเอนไซม์แลคเทส แบบทุติยภูมิ
- โรคท้องเสียโรตา มีวัคซีนในการป้องกัน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. วัคซีนเสริมป้องกันโรคอุจจาระร่วง วัคซีนโรต้า
2. อาการที่บ่งบอกว่าลูกของคุณโดนโรต้าไวรัส เล่นงานเข้าแล้ว
3. ไวรัสโรต้า วายร้ายทำลายลูกก่อให้เกิดโรคท้องเสียรุนแรง
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูล : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย