โรคฉี่หอมในเด็ก
โรคฉี่หอม หรือโรค MSUD เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายโปรตีนบางชนิดได้ ทำให้กลิ่นของปัสสาวะคล้ายกับ Maple Syrup โดยส่วนใหญ่เด็กแรกเกิดจะมีโอกาสเป็นน้อยมาก หรือ 1 ใน 180,000 คน ในประเทศ
โรคฉี่หอมในเด็ก คืออะไร
โรคฉี่หอม หรือ Maple Syrup urine deseed ( MSUD ) เป็นโรคในกลุ่มพันธุกรรมเมตาบอลิค metabolic disorders เกิดจากร่างกายไม่สามารถย่อยกรดอะมิโน ที่เกินจากความต้องการของร่างกายได้ ทำให้มีกรดอะมิโน (โปรตีน) หลงเหลือและตกค้างในร่างกาย ทำให้เวลาฉี่จึงมีกลิ่นคล้ายกลิ่นน้ำเชื่อมเมเปิ้ล หรือ กลิ่นน้ำตาลไหม้
โรคฉี่หอมในเด็ก มีสาเหตุมาจาก
โรคกลุ่มนี้มักเกิดจากการแต่งงานระหว่างเครือญาติ ที่มีสายพันธุ์หรือเชื้อชาติเดียวกัน เช่น คนจีนที่ใช้แซ่เดียวกัน คนไทยในต่างจังหวัดที่อยู่หมู่บ้านเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งครั้งหนึ่งอาจเคยเกี่ยวดองกัน ทำให้ยีนด้อยที่มีความบกพร่องเหมือนกันมาเจอกัน ลูกที่คลอดออกมาจึงเป็นโรคพันธุกรรมเมตาบอลิคได้
โรคฉี่หอมในเด็ก อันตรายหรือไม่
ถ้าเด็กเป็นโรคฉี่หอม ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ปล่อยไว้เป็นเวลานาน จะทำให้สารจำพวกโปรตีนที่สะสมในร่างกายจะก่อตัวเป็นสารพิษเข้าไปทำลาย สมอง ทำให้เด็กมีปัญหาการทรงตัว ตาเหร่ ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารได้
โรคฉี่หอมในเด็ก มีอาการอย่างไร
อาการของโรคฉี่หอมในเด็ก ที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้...
- มีอาการซึม หงอย ไม่ลืมตา
- มีกลิ่นตัวและกลิ่นฉี่หอม คล้ายกลิ่นน้ำเชื่อมเมเปิ้ล หรือกลิ่นน้ำตาลไหม้
- เวลาเด็กดูดนมแม่จะดูดนมช้า ดูดน้อย และอาการอาเจียนออกมาเป็นนม
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคฉี่หอม
สามารถรู้ได้จากการเจาะเลือดที่ส้นเท้าเพื่อตรวจหาโรค และสามารถสังเกตได้จากพัฒนาการของลูกว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ เช่น หากลูกพูดหรือเดินช้า ซึมผิดปกติ ตับและท้องโต กระจกตาขุ่น มีปัญหาการได้ยิน ชักบ่อยๆ ให้คาดการไว้ก่อนเลยค่ะ ว่าอาจเป็นโรคฉี่หอม ดังนั้นเมื่อลูกมีอาการดังกล่าว ให้รีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ทันที
โรคฉี่หอมในเด็ก รักษาอย่างไร
โรคฉี่หอมในเด็กสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบและรักษาได้ทัน อาจจะต้องมีการให้เอนไซม์ชดเชยประกอบกับกินอาหารตามแพทย์แนะนำ เพื่อไม่ให้มีสารโปรตีนตกค้าง และจะทำให้เซลล์นำเอนไซม์ไปกำจัดสารพิษที่สะสม มีผลทำให้เผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้นค่ะ
ในการดูแลเด็กที่เป็นโรคฉี่หอม เด็กที่เป็นโรคนี้ห้ามทานเนื้อสัตว์ นม และอาหารที่มีโปรตีนเด็ดขาด ยกเว้น นมสูตรเฉพาะของเด็กที่เป็นโรคฉี่หอม (ซึ่งต้องให้ทานตามปริมาณที่กำหนด) คุณแม่ต้องระวังในเรื่องของโภชนาการของลูก ภาวะหรือการเจ็บป่วยของลูก ไม่ว่าจะโรคใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกำลังใจจากพ่อและแม่ค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. 5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง
3. ลูกซีด
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team