ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
- สำหรับผู้ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดแพทย์จะหาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์
- ตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปหาลูกเช่น
- โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น
- โรคของมารดาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่
- Rubella:(German measles) หรือหัดเยอรมันผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนและไม่เคยเป็นโรคหัดเยอรมันควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่แน่นใจว่าเคยเป็นโรคหัดเยอรมัน หรือเคยฉีดวัคซีนหรือไม่อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันและให้คุมกำเนิดหลังจากฉีด 3 เดือน
- Hepatitis B ไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทุกราย เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาทุกราย สำหรบมารดาที่ยังไม่มีภูมิ หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์
- Chickenpox ไข้สุกใสผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สุกใส และให้คุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน
- Toxoplasmosisเกิดจากเชื้อปาราสิตที่ปนในอาหารดิบๆ
- Thalassemia โรคที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพ่อและแม่มีพันธุกรรมแฝงอยู่ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค
- Sickle-cell disease และTay-Sachs disease เกิดในเชื้อชาติอื่น
- โรคเบาหวาน หากไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดีเด็กที่เกิดมามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้
- ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน
- โรคลูปัส Systemic lupus erythematosus (SLE)ผู้ป่วยที่มีโรคนี้จะมีโอกาสทีจะแท้ง หรือคลอดก่อนกำเนิดสูง ควรจะปลอดจากอาการของโรคอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
- โรคลมชัก Seizures ยาบางชนิดอาจมีผลต่อเด็กดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ถึงชื่อยา และขนาดยาที่ใช้เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก
5. แม่บ้านที่ทำงานอยู่กับบ้าน ไม่ควรเลิกทำงานบ้านในระหว่างตั้งครรภ์ ควรทำงานต่อไปตามปกติ ยกเว้นระยะที่มีอาการแพ้ท้องมาก และควรเดินเล่นออกกำลังกายทุกวัน แต่ต้องหยุดพักทันทีที่คุณรู้สึกเหนื่อย หญิงมีครรภ์ไม่ควรไปเล่นน้ำทะเล และแม่น้ำลำคลอง เพราะน้ำบางแห่งสกปรก
6. การร่วมเพศกับสามี ควรหลีกเลี่ยงในระยะแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการแท้งลูก และไม่ควรร่วมกับสามีในระยะ 4 สัปดาห์ ก่อนกำหนด คลอด
7. ควรถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา สำหรับผู้ที่ท้องผูกบ่อย ๆ เมื่อตั้งครรภ์ ท้องจะผูกมากขึ้น ควรพยายามถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาหลังอาหารเช้า กินผักสด ผลไม้ (เช่นมะละกอ กล้วย ฯลฯ) ให้มาก ๆ
ดื่มน้ำมาก ๆ หลังตื่นนอนตอนเช้า
8. ควรฉีดยาป้องกันบาดทะยักก่อนอายุครรภ์ได้ 6 เดือน
9. ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่รัดหน้าอก หน้าท้อง ควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เท้าของคุณจะบวมง่ายขึ้น จึงไม่ควรสวมรองเท้าคับ ๆ
10. สำหรับผู้ที่มีหัวนมบอด ควรนวดและดึงหัวนมประมาณ 4-5 นาที ทุกครั้งหลังอาบน้ำ แต่ไม่ควรกังวลกับมันมากนัก เพราะส่วนใหญ่ปัญหานี้ มักแก้ตกเมื่อพยายามให้เด็กดูดนม
11. ระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ควรเลี้ยงหรือเล่นกับสุนัขและแมว เพื่อป้องกันการติดโรค เช่น พยาธิทอกโซปลาสมา (Toxoplasmosis)
ซึ่งอาจจะทำให้ลูกที่ออกมามีความผิดปกติต่าง ๆ ได้
12. เมื่อครบกำหนดคลอดแล้ว คุณยังไม่คลอดก็ไม่ต้องกังวล การคลอดล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 2 สัปดาห์นั้น เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเกินกำหนด 2 สัปดาห์ไปแล้ว เด็กอาจจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้