สารก่อมะเร็งในควันธูป
จากผลวิจัยเรื่อง "สารก่อมะเร็ง : ภัยเงียบที่มากับควันธูป" ของนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ ร่วมกับ ดร.พนิดา นวสัมฤทธิ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงร่วมวิจัยด้วย พบว่า ในควันธูปมีสารก่อมะเร็งรวมอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด เบนซีน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน
ในวัดบริเวณที่จุดธูป มีสารเบนโซเอไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงสุด สูงกว่าสถานที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า และควันธูป 1 ดอกมีปริมาณสารก่อมะเร็งไม่ต่างจากบุหรี่ 1 มวน และหากจุดธูป 3 ดอกภายในบ้านที่ไม่เปิดให้อากาศระบายจะเทียบเท่ากับมลพิษทางอากาศในสี่แยกที่มีการจราจรพลุ่กพล่าน จึงมีแนวคิดทำโครงการ "จุดแล้วรีบดับ" โดยเสนอว่าผู้ที่จุดธูปอธิษฐานเมื่อขอพรเสร็จแล้ว ก็รีบดับด้วยวิธีจุ่มน้ำหรือทราย และในอนาคตจะขอให้ผู้ประกอบการผลิตธูปชนิดใหม่ที่มีเนื้อบริเวณปลายธูปเท่านั้นเพื่อลดปริมาณควันธูป เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดสารพิษก่อมะเร็ง
หลายคนจึงไหว้พระและเจ้าที่ด้วยมือและจิตใจ หรือใช้ธูปไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ และพยายามจุดธูปน้อยดอกและน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้