ประโยชน์ของการเล่านิทานให้ลูกฟัง

16 July 2012
16409 view

ประโยชน์ของการเล่านิทานให้ลูกฟัง

จากผลวิจัยพบเด็กๆตั้งแต่ 3 -8 ขวบ โปรดปรานการฟังนิทานก่อนนอนจากคุณพ่อคุณแม่เป็นที่สุด แซงหน้าการดูทีวี หรือเล่นเกม ชี้คุณแม่เป็นเซียนนักเล่านิทานตัวจริงมากกว่าคุณพ่อ
ผลการวิจัยระบุว่า เด็กในวัย 3-4 ขวบ เป็นช่วงที่กระหายให้คุณพ่อคุณแม่เล่านิทานก่อนนอนใฟ้ฟัง โดย 2 ใน 3 ของเด็กวัยนี้อยากให้คุณพ่อคุณแม่อ่านนิทานให้ฟังบ่อยๆนายริชาร์ด วูฟสัน นักจิตวิทยาเด็ก ผู้ทำการศึกษาให้กับ Disneys /Pixar World of Cars กล่าวว่า มากกว่าครึ่งของเด็กๆในวัย 3-8 ขวบ บอกว่า ช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่่อ่านนิทานให้ฟังนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่พวกเขาชอบมากที่สุดจากผลการสำรวจเด็กๆในอังกฤษที่อายุระหว่าง 3-8 ปีจำนวน 500 คน แสดงให้เห็นว่า การฟังนิทานเป็นกิจกรรมยามว่างที่โปรดปรานของเด็ก แซงหน้ากิจกรรมบันเทิงอื่น ไม่ว่าจะเป็นการชมโทรทัศน์ หรือเล่นวิดีโอเกม ยิ่งกว่านั้น 82 % ของอาสาสมัครยังบอกว่าการฟังนิทานก่อนนอนทำให้พวกเขาหลัับสนิท ขณะที่นักวิจัย บอกว่า นักเล่านิทานที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ คือ “คุณแม่” โดยเฉพาะคุณแม่ที่่ใช้เสียงตลก เสียงที่แตกต่างในการเล่าเรื่อง รวมทั้งการใช้เสียงประหลาดเพื่อเป็นเอ็ฟเฟ็กซ์ประกอบการดำเนินเรื่อง

แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อาจไม่มีเวลามากพอที่จะเล่่านิทานให้ลูกฟังได้ นักวิจัยก็พบว่าเด็กๆมากกว่า 30% ยินดีที่จะฟังนิทานจากเหล่าคนดังที่พวกเขาชื่นชอบแทนก็ได้ เช่น แดเนียล แร็ฟคลิฟฟ์ พ่อมดน้อยแฮร์รี่ พอตเตอร์ มิเล่ ไซรัฟ หรือเอ็มม่า วัตสัน ผู้รับบทเฮอร์ไมโอนี่ อย่างไรก็ตาม นักวิตวิทยาเด็กวูลฟสัน บอกว่า แม้จะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคู่ที่อาจไม่มีเวลาเล่านิทานให้ลูกๆฟัง แต่นี่ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ครอบครัวจะได้สร้างสายใยความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แข็งแกร่ง ที่สำคัญยังเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญต่อพัฒนาการของลูแพทย์เผยการเล่านิทานให้ลูกฟังตั้งแต่อายุน้อยๆ จะกระตุ้นไอคิว-อีคิวของเด็กเล็ก นำไปสู่การประสบความสำเร็จในชีวิตการงานและสังคม ระบุผลวิจัยล่าสุดน่าห่วง พบว่าพ่อแม่ไทยยุคใหม่ 1 ใน 3 ไม่เคยเล่านิทานให้ลูกฟังเลยตลอด 1 เดือน

 .

น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเลี้ยงลูกมีส่วนสำคัญมากในการสร้างไอคิวอีคิวเด็กถึง 70% ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนให้พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังตั้งแต่ทารก ตลอดจนสนับสนุนให้พี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ 17,000 แห่ง เล่านิทานให้เด็กฟัง เพื่อสร้างไอคิวอีคิวเด็กไทย เนื่องจากการศึกษาในต่างประเทศซึ่งเก็บข้อมูลเด็ก 450 คนต่อเนื่องนานถึง 40 ปี พบว่าไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการทำงานได้ดี

ปัจจัยที่สามารถทำนายถึงความสำเร็จด้านต่างๆ ของชีวิตได้ดีกว่ากลับเป็นความสามารถด้านต่างๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์และการเข้ากับบุคคลอื่นๆ ได้ดี ซึ่งหมายถึงอีคิวนั่นเอง  

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในกลุ่มที่จบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 80 คน ตั้งแต่ตอนที่ยังศึกษาอยู่จนถึงบั้นปลายชีวิตในวัย 70 ปี พบว่าความสามารถทางด้านอารมณ์ และสังคม มีส่วนทำให้ประสบผลสำเร็จในวิชาชีพ และมีชื่อเสียงมากกว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวถึง 4 เท่า การเล่านิทานยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้เล่ากับเด็กสร้างความมั่นใจ ความเชื่อมั่นให้เด็ก กล้าแสดงความคิดเห็น มีสมาธิ ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบของไอคิว หรือความฉลาดทางปัญญา นิทานยังเป็นการขยายเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ช่วยสร้างความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวให้เด็กอยู่ในสังคมได้ 

น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า นิทานในเด็กเล็กอาจจะมีการจัดทำเป็นหนังสือ โดยเสริมการสัมผัสหรือที่เรียกว่าหนังสือสัมผัส มีภาพประกอบใหญ่ๆ คล้ายของจริง เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ เป็นหนังสือที่มีผลดีต่อเด็กมาก ระหว่างเล่าเด็กจะมองที่ปากคนเล่า และเด็กจะขยับปากตาม ซึ่งมีส่วนกระตุ้นพัฒนาทางภาษา เมื่อเด็กได้จับรูปภาพ จะกระตุ้นพัฒนากล้ามเนื้อ กระตุ้นการมองสี แยกแยะสี
แต่จากการศึกษาสถานการณ์การเล่านิทานของครอบครัวไทย พบว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างน่าห่วง ในช่วง 2 ปีมานี้ พ่อแม่มีเวลาเล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันไม่ถึง 50% เนื่องจากต้องทำงานนอกบ้าน ผู้เล่านิทานเป็นแม่มากกว่าพ่อ ด้านน.พ.สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ศึกษาสถานการณ์ การเล่านิทานของครอบครัวไทยทั่วประเทศกว่า 3,389 ครอบครัวในปี 2546 พบว่าเพียงร้อยละ 2 ที่พ่อแม่เริ่มเล่านิทานตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ พ่อแม่ 2 ใน 3 เริ่มเล่าเมื่อลูกอายุ 1-3 เดือน ขณะที่พ่อแม่ 1 ใน 3 ไม่เคยเล่านิทานให้ลูกฟังเลยในรอบ 1 เดือน วิธีการเล่า 41% จะอ่านนิทานให้ลูกฟัง มีเพียง 1 ใน 6 ที่ใช้อุปกรณ์และแสดงท่าทางประกอบการเล่านิทานที่นิยมเล่ามากที่สุด ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน รองลงมาคือนิทานสอนคติธรรม นิทานนานาชาติ และการ์ตูน ส่วนประโยชน์ของการเล่านิทาน พ่อแม่ 28% บอกว่าทำให้ลูกมีสมาธิดี รองลงมาคือสร้างความผูกพันพ่อแม่ลูก ทำให้เด็กมีจินตนาการเกิดความคิดสร้างสรรค์ และเด็กได้คติเตือนใจ อย่างไรก็ตาม เพื่อกระตุ้นพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก กรมอนามัยแนะนำว่าปัจจุบันมีนิทานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งในเรื่องการบริโภคอาหาร การแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพอื่นๆ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team