โรคมือเท้าปาก ระบาดอีกแล้ว ทุกบ้านต้องระวัง!!!

20 July 2012
4499 view

โรคมือเท้าปาก 

โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genus ซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses

โรคมือเท้าปาก มีสาเกตุเกิดจาก

โรคปากเท้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus ส่วนมากพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี  อาการที่แสดงว่าเป็นโรค มือ เท้า ปาก ได้แก่ ผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน

โรคมือเท้าปาก มีอาการอย่างไร

อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ มีอาการโดยรวมดังนี้

  1. มีไข้
  2. เจ็บคอ
  3. มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
  4. ปวดศีรษะ
  5. ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
  6. เบื่ออาหาร
  7. เด็กจะหงุดหงิด

โรคมือเท้าปาก มีการติดต่ออย่างไร

โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว

โรคมือเท้าปาก รักษาอย่างไร

ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน

  1. ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
  2. บ้วนปากด้วยน้ำเกลือใช้เกลือ1/2ช้อนต่อน้ำ 1 แก้ว ต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้
  3. ดื่มน้ำให้มากๆ
  4. งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด

โรคมือเท้าปากมีโรคแทรกซ้อนหรือไม่

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน

  1. ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือ
  2. มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล
  3. อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
  4. อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  5. สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย

โรคมือเท้าปาก ป้องกันอย่างไร

โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย

  1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
  3. หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก
  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับบ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์
  5. ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ

เมื่อพบว่าลูกมีอาการ ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม กระสับกระส่าย มีอาการชัก เป็นแผลไม่หาย ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ และคุณแม่อย่าลืมสังเกตและดูแลสุขภาพลูกรัก หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. อาการหวัดในเด็กเล็ก อีกเรื่องที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

2. โรคโปลิโอ โรคอันตรายร้ายถึงพิการ!!!

3. วัคซีนในเด็กมีอะไรบ้าง

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team