การตั้งครรภ์และ พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

26 September 2017
58771 view

อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

 ตอนนี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 9.3-10.3 ซม. และจะหนักประมาณ 50 ก. ในสัปดาห์นี้ขนซึ่งมีความละเอียดพิเศษเรียกว่า ขนอ่อน จะเริ่มงอกทั่วร่างกายในรูปแบบเป็นเกลียวอย่างประณีตตามลายเนื้อผิวหนังที่บางและโปร่งแสง เป็นรูปแบบที่จะทำให้เกิดลายนิ้วมือในภายหลัง ขนอ่อนนี้คาดว่าทำหน้าที่ปกป้อง โดยทำตัวเป็นสมอสำหรับชั้นปกคลุมผิวหนังที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งซึ่งจะหลั่งออกมากในเดือนถัดๆไป ขนอ่อนจะร่วงก่อนเกิด มีขนที่หนากว่า หยาบกว่ามาแทนที่ ซึ่งเห็นได้เมื่อทารกถือกำเนิด ขนคิ้วและผมยังคงงอกต่อไป

กระดูกชิ้นเล็กๆ ของหูชั้นกลางกำลังแข็งขึ้น แต่ยังได้ยินได้ไม่ดีนัก ด้วยกล้ามเนื้อใบหน้าที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในขณะนี้ทำให้แสดงสีหน้าต่างๆ ได้ เช่น ทำหน้านิ่ว คิ้วขมวด เบิ่งตา

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

จนถึงเวลานี้คุณแม่อาจกำลังรู้สึกคับบริเวณเอว จึงถึงเวลาที่จะคิดถึงเสื้อผ้าหลวมๆ สำหรับคุณแม่ อาการท้องผูกอาจเริ่มเป็นปัญหาเนื่องมาจากระดับโพรเจสเทอโรนที่สูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานได้ช้าลง ดังนั้นควรรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใย และดื่มน้ำให้มากขึ้น สัปดาห์นี้กระดูกของลูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณจึงควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ 

ถ้าคุณกำลังวางแผนเที่ยว ไตรมาสที่ 2 นี้เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะออกเดินทาง เพศสัมพันธ์อาจกลับมาอีกครั้งเนืองจากพบว่าสตรีจำนวนมากมีความต้องการทางเพศที่สูงขึ้น

การตรวจสุขภาพครรภ์ในคุณแม่ อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

การนัดหมาย และ การตรวจสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ระหว่างอายุครรภ์13สัปดาห์ อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพแม่และลูกน้อย หากคุณแม่เป็นครรภ์เสี่ยงอาจไดรับการตรวจพิเศษมากกว่าคุณแม่ครรภ์ปกติ  การตรวจต่างๆที่คุณแม่อาจได้รับในการนัดตรวจครรภ์อายุครรภ์13สัปดาห์ มีดังนี้ 

  • อัลตราซาวด์ดูอายุครรภ์ และวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ(Nuchal translucency)  

    วิธีการทำโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ เพราะทารกกลุ่มอาการดาวน์มักมีน้ำคั่งค้างที่บริเวณต้นคอทารกมากกว่าทารกปกติ เมื่อทำร่วมกับการเจาะเลือดแม่เพื่อหาค่าสารเคมีบางตัวคล้ายกับการตรวจข้างต้น จะสามารถบอกความเสี่ยงของทารกที่จะมีภาวะดาวน์ได้แม่นยำประมาณร้อยละ 91

  • แพทย์อาจเก็บตัวอย่าคอริโอนิควิลไล (Chorionic villous sampling ) อักษรย่อ CVS 

    เป็นการดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม Chromosome เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ Chorionic villous sampling สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down's syndrome ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ โรคทางพันธุกรรม และปัญหาอื่นๆของการตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำการตรวจนี้แก่ท่านที่มีบุตรพิการ หรือมีประวัติครอบครัวที่มีโรคทางพันธุกรรม


    สูติแพทย์จะพิจารณาตรวจ ในคุณแม่กลุ่มเสี่ยงเช่น 
    1. อายุของคนท้องมากกว่า 35 ปี
    2. ประวัติครอบครัวคลอดพิการแต่กำเนิด
    3. คลอดเด็กพิการแต่กำเนิดมาก่อน
    4. ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์
    5. เป็นเบาหวานชนิดที่ 1

  • แพทย์อาจตรวจคัดกรองเซรั่ม   

    การตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม โดยการคำนวณหาปริมาณซีรั่มหรือฮอร์โมนในเลือดแม่ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่อยู่ด้านหลังต้นคอของทารกในครรภ์จากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ผลของการหาปริมาณฮอร์โมนต่างๆ ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่ต้นคอทารกในครรภ์ จะบอกความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้

หมายเหตุ : 
การนัดตรวจสุขภาพครรภ์ ใน13 -15สัปดาห์ ข้างต้นส่วนใหญ่แพทย์ใช้ตรวจในช่วงอายุครรภ์ 13 - 15 สัปดาห์

อาหารบำรุงครรภ์ที่เหมาะสมในคุณแม่อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ 

ผิวหนังทารกในครรภ์เริ่มพัฒนา ถ้าหากคุณแม่สามารถมองทะลุเข้าไปในท้องได้ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณมีผิวหนังที่บางและโปร่งใสจนคุณสามารถมองเห็นเส้นเลือดของลูกได้ คุณแม่สามารถช่วยเขาพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ คงจำกันได้ว่าเราห้ามไม่ให้คุณกินตับเพราะภายในตับมีวิตามินเอ ถูกแล้วล่ะค่ะ วิตามินเอในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดีหากรับประทานในปริมาณมากๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครที่จะบริโภคตับมากเป็นกิโลๆต่อวันเพราะฉะนั้นวางใจได้คุณแม่รับประทานตับวันละครั้งก็ยังถือว่าปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์  วิตามินเอที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ในรูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง มาดูเมนูกันค่ะ 

 น้ำแครอทเมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

 กุยช่ายผัดตับเมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

การดูแลครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ คุณแม่ควรติดตามและสังเกตอาการผิดปกติในแต่ละวัน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ โดยด่วน  และควรปฏิบัตตนตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ครรภ์คุณภาพไม่มีขายสร้างได้ด้วยคุณแม่เอง 

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร 

คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

5 สัปดาห์

6 สัปดาห์

7 สัปดาห์

8 สัปดาห์

9 สัปดาห์

10 สัปดาห์

11 สัปดาห์

12 สัปดาห์

13 สัปดาห์

14 สัปดาห์

15 สัปดาห์

16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18 สัปดาห์

19 สัปดาห์

20 สัปดาห์

21 สัปดาห์

22 สัปดาห์

23 สัปดาห์

24 สัปดาห์

25 สัปดาห์

26 สัปดาห์

27 สัปดาห์

28 สัปดาห์

29 สัปดาห์

30 สัปดาห์

31 สัปดาห์

32 สัปดาห์

33 สัปดาห์

34 สัปดาห์

35 สัปดาห์

36 สัปดาห์

37 สัปดาห์

38 สัปดาห์

39 สัปดาห์

40 สัปดาห์

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง :

1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า 35 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส

2.Your pregnancy:15 weeks . เข้าถึงได้โดย.https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-15-weeks_1104.bc . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

3. weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/15-weeks-pregnant-what-to-expect . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560].

  • No tag available