ลิ้นเป็นฝ้า
ลิ้นเป็นฝ้า ฝ้าขาวในปากลูก พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด – 6 เดือน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นเรื่องที่คุณแม่มืออาชีพ ต้องระวังป้องกัน ก่อนที่จะลุุกลามกลายเป็นเชื้อราในปากได้ เพราะหากลายเป็นเชื้อราแล้ว ต้องเสียเวลาในการรักษาเนิ่นนาน ก่อนอื่นคุณแม่มาทำความรู้จัก ฝ้าที่ลิ้นกันดีกว่าค่ะ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรวิธีป้องกันทำอย่างไรบ้าง
ลิ้นเป็นฝ้า เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
- เกิดจากคราบน้ำนมที่ลูกดื่มเกาะที่ลิ้น เหงือก และเพดาน พบได้ในเด็กที่ดื่มนมผสมมากว่าเด็กที่ดื่มนมแม่
- เกิดจากเชื้อ candida ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในร่างกายคนเรา จะเริ่มทำงานและตรวจพบเมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานที่อ่อนแอลง หากคุณแม่ได้รับยาบางอย่างหรือภูมิต้านทานลดลง จะมีเชื้อโรคชนิดนี้แฝงอยู่บริเวณผิวหนัง เช่น เต้านม หัวนม สงผ่านไปยังลูกได้
ลิ้นเป็นฝ้า กับอาการที่ลูกแสดง
อาการที่คุณแม่ควรสังเกต หมั่นสำรวจช่องปากของลูกน้อย หากลูกเป็นฝ้าจะพบเป็นจุดขาวบนหรือในกระพุ้งแก้ม เหงือกหรือลิ้น แต่ถ้าหากลูกติดเชื้อราแล้ว การติดเชื้ออาจมีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อม (จุดเล็กสีแดงรอบๆผื่น) แต่ไม่สามารถใช้รักษาให้หายโดยยารักษาผื่นผ้าอ้อม ทารกหลายคนที่เป็นโรคเชื้อราในปากอาจปฏิเสธการดูดนม ท้องอืด หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว
ลิ้นเป็นฝ้า ดูแลและรักษาอย่างไรดี
- หลังลูกดูดนมแม่แล้ว ให้เช็ดทำความสะอาดลิ้นด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว หรืออาจเช็ดวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น
- ล้างมือลูกบ่อยๆเนื่องจากลูกวัย 0-6 เดือนจะชอบดูดนิ้ว อมมือตามพัฒนาการ
- คุณแม่ล้างมือบ่อยๆก่อนและสัมผัสลูก
- ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ให้นมของลูก ด้วยวิธีต้มหรือนึ่ง ได้แก่ จุกหลอก จุกนม ขวดนม และของเล่นที่ลูกเอาเข้าปากโดยต้มเป็นเวลา 20 นาทีทำทุกวันเพื่อฆ่าเชื้อ หลังใช้ไป 1 สัปดาห์ให้ทิ้งจุกและของเล่นเหล่านั้นและซื้อใหม่
- คุณแม่สวมเสื้อใส่ชุดชั้นในที่ซักสะอาด ชุดชั้นในคุณแม่ต้องตากแดด ไม่แนะนำให้ตากในที่อับชื้น
- ในคุณแม่ที่มีน้ำนมซึมต้องเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อยๆ
- หากสงสัยว่าฝ้าที่ลิ้นของลูกกลายเป็นเชื้อราแล้ว ควรพบแพทย์ เพื่อรับยา การรักษาด้วยยาต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถึงจะเห็นผล
การดูแลป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจาก ลิ้นเป็นฝ้า ทำได้ไม่ยาก อาจจะเพิ่มขั้นตอนการดูแลความสะอาด ให้มากขึ้น ล้างมือให้บ่อยขึ้น แค่นี้ลูกรักของคุณก็เป็นเด็กสุขภาพดี ห่างไกลจากลิ้นเป็นฝ้าและเชื้อราในช่องปาก คุณแม่มืออาชีพอย่างคุณ ทำได้อยู่แล้วค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. 12สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดงอแง
2. วิธีรับมือกับเด็กร้องดินอาละวาด
3. วิธีรับมื่อเมื่อลูกร้องกลางดึก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team