วัดไข้เด็ก
มีไข้ หรือ อาการตัวร้อน เป็นอาการแสดงทางการแพทย์ที่พบบ่อย มีไข้นั้น หมายถึงการที่ร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น มากกว่า 37.4 องศาเซลเซียง ( อุณภูมิปกติของคนทั่วไป คือ 36.5 – 37.4 องศาเซลเซียส ) หากมีอุณภูมิสูงมากขึ้น ร่างกายจะสั่นสะท้านได้เนื่องมาจากตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทางการแพทย์ได้แบ่งระดับของไข่ออกเป็น 3 ระดับตามอุณภูมิกายดังนี้
ไข้ในเด็กหมายถึงอุณภูมิเท่าไหร่แม่ต้องรู้ก่อนวัดไข้เด็ก
- ไข้ต่ำๆ (Low fever) หมายถึง ลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส
- ไข้ปานกลาง (Moderate fever) หมายถึง ลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูง (High fever) หมายถึงลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูงมาก (Hyperpyrexia) หมายถึง ลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 40.5 องศาเซลเซียส
ปัจจุบัน มีการพัฒนากเครื่องมือวัดไข้ ออกมาในหลายๆรูปแบบให้คุณแม่ได้เลือกใช้ตามความสะดวก เครื่องมือดังกล่าวมี วิธีวัดไข้ และระยะเวลาในการวัดที่แตกต่างกัน ดังนี้
การวัดไข้เด็กทางหน้าผาก (forehead thermometer)
เป็นวิธีการวัดที่เหมาะกับเด็กทุกวัย อุปกรณ์ทำด้วยแผ่นพลาสติกมีแถบสารไวต่อความร้อนติดอยู่ใช้กับหน้าผากจึงไม่ต้องสอดใส่เข้าไปในร่างกาย ใช้งานง่ายเพียงวางบนหน้าผากของลูก แต่การวัดทางหน้าฝากไม่ค่อยแม่นยำมากนัก ทางการแพทย์ จึงไม่นิยมใช้
วิธีวัดเด็ก ทางหน้าผาก
- ให้คุณแม่ ทาบแถบเทอร์โมมิเตอร์ไว้กับหน้าผากลูกน้อย อย่าให้มือแตะถูกบริเวณตัวเลย
- ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น
- คุณแม่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิ หลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว
การวัดไข้เด็กใต้รักแร้ (Under the armpit thermometer)
เหมาะกับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ง่ายและสะดวก ใช้ได้กับเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทและดิจิตอล แต่มีความแม่นยำน้อยที่สุด ทางการแพทย์ใช้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น
วิธีวัดไข้เด็ก ใต้รักแร้
- ให้คุณแม่นั่งชิดกับลูก โดยให้ลูกอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด
- คุณแม่ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าบริเวณใต้วงแขนของลูกแห้ง และใส่บริเวณกระเปาะไว้ใต้แขน ต้องแน่ใจด้วยว่าบริเวณกระเปาะอยู่แนบชิดกับผิวหนัง หากลูกดิ้นสามารถกอดลูกไว้หรือให้นมลูกไปด้วยก็ได้
- คุณแม่อาจจะจับแขนลูกให้แน่น โดยอาจจับแขนลูกมาวางพาดบนหน้าอก ใช้เวลาประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า อุณหภูมิที่อ่านได้จะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายจริง ประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์
การวัดไข้เด็กทางปาก (Oral thermometer)
วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะลูกสามารถระมัดระวังไม่เคี้ยวหรือกัดหลอดและสามารถอมใต้ลิ้นด้วยตนเองได้ วัดอุณหภูมิได้แม่นยำ นิยมใช้ตามโรงพยาบาล วิธีการไม่ยุ่งยาก
วิธีวัดไข้เด็กทางปาก
- ต้องแน่ใจว่าลูกพูดรู้เรื่อง ไม่เคี้ยวปรอมชทให้แตก เพราะอันตราย
- วางเทอร์โมมิเตอร์ใต้ลิ้นประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า
การวัดไข้เด็กทางหู
วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะถ้าต่ำกว่านี้ร่องหูเด็กจะแคบไม่สามารถสอดใส่เซ็นเซอร์ได้อย่างเหมาะสม สะดวกตรงที่ทำให้เด็กรู้สึกสบาย ง่ายต่อการวัด ไม่อันตรายต่อ แก้วหู แต่เสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อนสูง หากวางไม่ตรงกึ่งกลางของรูหู เป้นวิธีที่นิยม เพราะสะดวกสบายแต่ราคาค่อนข้างสูง
วิธีวัดไข้เด็กทางหู
- จับลูกนอนตะแคงในท่าที่ลูกสบายและอยู่นิ่งเฉย
- เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในช่องหูให้ตรงจุด คือบริเวณรูหู ถ้าไม่ตรงจะทำให้ได้ผลที่ไม่ถูกต้อง
- รอจนกระทั่งเสียงดังปี๊บ แสดงว่าวัดไข้เสร็จแล้ว
การวัดไข้เด็กทางทวารหนัก (Rectal thermometer )
เป็นเหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า18เดือน เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์มากที่สุดเนื่องจากได้ค่าที่แม่นยำสุงสุด แต่ก็มีความเสี่ยงหากสอดใส่เทอร์โมมิเตอร์ลึกเกินไป เพราะเด็กบางรายดิ้นขณะทำการวัด
วิธีวัดไข้เด็ก ทางทวารหนัก
- ทากระเปาะของปรอทด้วยเบบี้ออยล์หรือวาสลีนเพื่อหล่อลื่น
- จับเด็กนอนหงายในท่าที่สบาย ถอดผ้าอ้อมออก ใช้มือข้างหนึ่งจับข้อเท้าทั้ง 2 ข้างของเด็กยกขึ้น
- หรือจับให้ลูกนอนคว่ำบนตัก วางมือบนหลังลูกเพื่อป้องกันลูกดิ้น
- ค่อยๆ สอดแท่งปรอทเข้าไปในก้นลึกประมาณ 1 นิ้ว ปล่อยไว้ 30 วินาที-2 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมมิเตอร์) แล้วดึงออกเช็ดวาสลีนที่ติดอยู่แล้วอ่านอุณหภูมิ
- หลังจากถอดเทอร์โมมิเตอร์ออกจากก้นลูกอาจจะอึหรือผายลมออกมาอย่าตกใจไป
เมื่อลูกมีตัวร้อนอย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ ตั้งสติและวัดไข้ก่อนเสมอ เมื่อทราบอุณภูมิของลูกแล้ว คุณแม่จะได้จัดการกับอาการของลูกได้อย่างถูกต้อง หากลูกมีไข้ต่ำๆ คุณแม่สามารถเช็ดดัวลดไข้ด้วยน้ำก๊อก อุณภูมิปกติได้เลย หากเด็กเล็กอายุน้อยกว่า6เดือน แนะนำเช็ดด้วยน้ำอุ่น และวัดอุณภูมิซ้ำหลังเช็ดตัวทุก 30 นาที การณีลูกมีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป แนะนำให้คุณแม่เช็ดตัวลดไข้และรับประทานยาลดไข้ เสร็จแล้วให้รีบพาลูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้ตามแผนการรักษาของเเพทย์ค่ะ คุณแม่หลายๆคนตกใจ ลูกมีไข้ต่ำๆก็ให้ทานยา เป็นการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกต้อง จำไว้เสมอนะคะ การเช็ดตัวลดไข้เป็นสิ่งที่แม่ต้องรีบทำก่อนถึงมือแพทย์ เพื่อป้องกันลูกชักค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. 5วิธีลดไข้ให้ไข้ลดลง ทันใจแม่
2. เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team