อาหารบำรุงครรภ์ 8 เดือน ควรกินหรือหลีกเลี่ยงเมนูไหนดี ? เช็คเลย

24 May 2018
32269 view

อาหารบำรุงครรภ์ 8 เดือน

อีกไม่กี่สัปดาห์คุณแม่ก็จะได้ลูกน้อยที่รอคอยแล้วค่ะ ที่ผ่านมาคุณแม่ดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เพื่อให้ร่างกายคุณแม่แข็งแรงพร้อมคลอดแล้วปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลายไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ จนเข้าสู่ระยะใกล้คลอดแล้วควรกินอะไรเป็นพิเศษอีก เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมการเข้าสู่ช่วงคลอดบำรุงครรภ์ในช่วงนี้ก็สำคัญไม่น้อย อาหารสําหรับคนท้อง 8 เดือน ที่คุณแม่สามารถกินเสริมหรือเน้นเป็นพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายก่อนคลอดมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันค่ะ

ความสำคัญของการบำรุงครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 8 เดือน

ในช่วงเดือนนี้กระบวนการผลิตน้ำนมในคุณแม่บางคนกำลังเริ่มทำงาน แม้ว่าลูกน้อยในครรภ์จะมีพัฒนาการที่พร้อมจะคลอดออกมาแล้ว อย่าลืมว่าทารกในครรภ์ 8 เดือนนี้ยังมีขนาดน้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตอนคลอดเท่านั้น คือประมาณ 1,500 กรัม หมายความว่าทารกยังโตได้อีกมากในระยะเวลาแค่เดือนเดียว ดังนั้นสารอาหารเพื่อเสริมพัฒนาการยังมีความจำเป็นต่อทารกอยู่ และสารอาหารที่คุณแม่ควรเน้น คือ แคลเซียม วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินดี ธาตุเหล็ก โอเมก้า3 และโปรตีน เพื่อความแข็งแรงของคุณแม่และความปลอดภัยของลูกน้อยในการเตรียมความพร้อมก่อนคลอด

สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 8 เดือน

ในช่วงเดือนที่ 8 นี้ เรื่องอาหารการกินมักจะเน้นไปที่การดูแลคุณแม่ บำรุงสุขภาพร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรง ให้ร่างกายมีความพร้อมในการคลอด คุณแม่ควรกินอาหารเพื่อได้รับสารอาหารเพิ่มเป็นพิเศษในช่วงนี้ ได้แก่

1. แคลเซียม

จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังของคุณแม่ ยังช่วยบำรุงกระดูกคุณแม่ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะของทารกให้มีความแข็งแรง พร้อมที่จะผ่านออกมาได้โดยไม่เสียรูปทรง ได้แก่ นม ปลาตัวเล็กตัวน้อย อะโวคาโด ข้าวกล้องและคิวนัว

2. วิตามินซี

ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กเพื่อให้ร่างกายคุณแม่สามารถนำไปใช้งานได้มากขึ้น และยังช่วยลดความดันโลหิตไม่ให้สูงจนเกินไป และเสริมภูมิต้านทานป้องกันโรค ให้ตัวคุณแม่และทารกมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

3. วิตามินดี

จะช่วยให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมไว้ให้กับลูกน้อย อาหารที่มีวิตามินดีมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาไหล มาการีน แครอท ฟักทอง และผักเขียวเหลืองต่างๆ

4. ธาตุเหล็ก

เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดให้กับคุณแม่ เนื่องจากใกล้ครบกำหนดคลอดแล้วร่างกายมีความต้องการเลือดในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อส่งสารอาหารไปดูแลทารกในครรภ์ให้มากขึ้น และยังเป็นการเตรียมความพร้อมทางร่างกายให้กับคุณแม่ในช่วงใกล้คลอดนี้ด้วย

5. โปรตีน

หากน้ำหนักตัวลูกน้อยคุณแม่ควรเพิ่มอาหารที่มีโปรตีนมากขึ้น เช่น ถั่ว ไข่ขาว เต้าหู้ ปลา อกไก่ นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง และลดอาหารจำพวกแป้งลง

อาหารบำรุงครรภ์ 8 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

ยิ่งใกล้ถึงวันคลอดคุณแม่ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

1. กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ส่วนมากมักจะมีอาการนอนไม่หลับ อาจเป็นเพราะฮอร์โมนและความกังวลเรื่องทารกและการคลอด จึงทำให้นอนไม่หลับ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทานคาเฟอีน แต่หากคุณแม่ชอบดื่มกาแฟแนะนำให้คุณแม่ทานได้แต่ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 แก้วค่ะ

2. อาหารทะเล

อาหารทะเลบางอย่างอาจมีสารปรอทปนอยู่ทำให้ทำลายระบบประสาทและสมองของลูกได้ 

3. อาหารสุกๆดิบๆ

เช่น เนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก ปลาดิบ ลาบ ก้อย และไข่ที่ปรุงสุกๆดิบๆหรือไข่ลวก คุณแม่กินไข่ลวกเพื่อโด๊ปน้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์ แต่ในไข่ดิบนั้นมีสารอะวิดิน ทำให้ร่างกายอาจขาดไบโอตินเนื่องจากสารอะวิดินจะเข้าไปจับไบโอตินซึ่งเป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย และหากร่างกายขาดวิตามินตัวนี้ก็จะส่งผลให้มีอาการย่อยยากและกระเพาะทำงานหนักขึ้น ในไข่ดิบอาจปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาซึ่งจะทำให้ เป็นไข้ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อเด็กทารกในท้องได้ ฉะนั้นถ้าอยากเสริมโปรตีนให้ร่างกายด้วยการกินไข่ ควรจะกินไข่ต้มที่ทั้งไข่ขาวและไข่แดงสุกจะดีที่สุดค่ะ

4. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีอาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น

5. งดการสูบบุหรี่

บุหรี่มีสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท ก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม

คุณแม่อาจเริ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เดินไม่ค่อยไหว ควรออกกำลังกายเบาๆเช่นการเดินไปมาอย่างช้าๆ ที่สำคัญคุณแม่เริ่มเตรียมเอกสารจำเป็นของใช้ที่จะต้องเตรียมไปโรงพยาบาลรอไว้เลย หากมีอาการผิดปกติมีอาการเจ็บท้อง น้ำเดิน คุณแม่ควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

อาหารบำรุงครรภ์ ในช่วงอายุครรภ์อื่นๆ คลิกเลย →→

อาหารบำรุงครรภ์

1 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

2 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

 3 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

4 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

5 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

6 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

7 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

8 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

9 เดือน

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

กลุ่มคุณแม่แชร์
ไอเดีย


เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง :

1. ซีรีส์บำรุงครรภ์: กินกับหมอ.Mahidol Channel.เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=nrTE9OQMR6g. [ค้นคว้าเมื่อ 17 มีนาคม 2561].

2. ผศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์  สุจริตพงศ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์.เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=796. [ค้นคว้าเมื่อ 17 มีนาคม 2561].

3. 9 อาหารคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/PjirVc. [ค้นคว้าเมื่อ 17 มีนาคม 2561].

4. ชา กาแฟ นม คนท้องกินได้หรือไม่ได้.เข้าถึงได้จาก http://mumraisin.com/can-food-eat-stomach/[ค้นคว้าเมื่อ 17 มีนาคม 2561].

5. Your pregnancy: 32 weeks.เข้าถึงได้จาก https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-32-weeks_1121.bc [ค้นคว้าเมื่อ 17 มีนาคม 2561].