สวนหรือไม่สวนดีนะในวันที่ลูกน้อยท้องผูก

06 April 2018
7315 view

ลูกน้อยท้องผูก

งานเข้าและเป็นงานหนักใจที่สุดของแม่อีกเรื่อง คือ ลูกน้อยท้องผูก อาการท้องผูกในเด็กเล็กเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆแก้ไม่จบ เพราะส่วนใหญ่คุณแม่มุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดและจบปัญหาท้องผูกของลูกได้คือ การแก้ที่ต้นเหตุ ต้นเหตุของอาการท้องผูกส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่ลูกรับประทาน Mamaexpert นำความรู้ดีๆที่ช่วยลดปัญหาลูกน้อยท้องผูกอย่างได้ผลมาฝากดังนี้

สาเหตุทำเจ้าตัวน้อยท้องผูก

สาเหตุลูกน้อยท้องผูกส่วนใหญ่มาจากนม ส่วนน้อยเกิดจากปัญหาภาวะสุขภาพเช่น เจ็บป่วย คลอดก่อนกำหนด เด็กที่กินนมแม่ล้วนจะพบปัญหาท้องผูกน้อยมาก และอาหารที่แม่ป้อนก็มีส่วนทำให้ลูกท้องผูกด้วยเช่นกัน  

ลูกน้อยท้องผูกแม่จะรู้ได้อย่างไร

ลูกน้อยท้องผูกมีหลากหลายอาการ แต่ส่วนใหญ่พบว่าขับถ่ายลำบาก แม่ทราบหรือไม่ลูกท้องผูกเรื้อรังส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ เด็กที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังจะกลายเป็นเด็กหงุดหงิดง่าย งอแง เลี้ยงยาก ไม่อยากให้ลูกท้องผูกต้องแก้ไขด่วน ส่วนอาการแสดงของเด็กท้องผูกสังเกตจากอาการเหล่านี้

  1. ลูกมีอาการท้องอืด
  2. ขับถ่ายน้อยกว่า2ครั้งใน1สัปดาห์
  3. อึมีลักษณะแข็ง เป็นก้อน
  4. ปริมาณอึของลูกน้อยกว่าปกติที่เคยขับถ่าย
  5. ลูกร้องไห้ขณะขับถ่าย
  6. ลูกออกแรงเบ่งมากกว่าปกติขณะขับถ่าย
  7. ลูกโก่งตัว หรือเกร็งตัวร่วมด้วยขณะขับถ่าย
  8. อึมีเลือดปน

ลูกน้อยท้องผูก การดูแลแก้ไข ไม่ใช่จบที่การสวน !!!

คุณแม่หลายบ้านเลือกจบปัญหาด้วยการสวนอุจจาระ เพราะทันใจลูกถ่ายออกมาในไม่กี่นาที การใช้กลีเซอรีนชนิดเหน็บก้นเด็ก (Glycerin Supp.)ไม่อันตรายหากคุณแม่ทำถูกวิธี โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ10 - 15นาที หลังเหน็บยาเข้าไป ลูกจะขับถ่ายออกมา แต่ ... คุณแม่รู้หรือไม่การสวนอุจจาระเป็นการจบปัญหาปลายเหตุ ไม่สามารถจบปัญหาลูกท้องผูกให้หายขาดได้ วันนี้สวนพรุ่งนี้ก็ต้องสวนวนไป วิธีจบปัญหาอย่างจริงจัง คุณแม่ลองทบทวนอาหารการกินของลูกซิคะว่า ลูกรับประทานอาหารที่ทำให้ถ่ายยาก อยู่หรือไม่

จบปัญหาลูกน้อยท้องผูกที่ต้นเหตุแบบฉบับคุณแม่มืออาชีพ

ต้นเหตุที่ทำให้ลูกน้อยท้องผูกส่วนใหญ่มาจากนมและอาหารที่ลูกได้รับ การดูแลอาหารการกินของลูกเป็นเรื่องที่่คุณแม่ควรใส่ใจตั้งแต่แรกคลอด ดังนี้

  1. นมแม่จบปัญหาท้องผูกได้ดีเยี่ยม ดังนั้นลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวนาน6เดือน จึงค่อยเริ่มอาหารเสริม
  2. ในช่วงวัยที่เริ่มอาหารเสริม ควรดูแลให้ลูกได้รับอาหารที่มีใยอาหารสูง ย่อยง่าย
  3. ดูแลให้ลูกได้รับผักและผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัย
  4. ดูแลให้ลูกได้รับน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ
  5. ดูแลลูกให้เคลื่อนไหวออกกำลังกาย เช่น เล่นสนาม  ทำโยคะให้ลูก นวดพุงให้ลูก เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยส่งเสริมการขับถ่าย
  6. หากลูกดื่มนมผสม ควรเลือกนมสูตรย่อยง่ายหรือนมที่มีส่วนผสมของพรีไบโอติก (Prebiotics)  

พรีไบโอติก (Prebiotics) คืออะไร

พรีไบโอติก คือ สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถย่อย หรือทนทานต่อการย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้สามารถผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยขัดขวางการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ช่วยเพิ่มสมดุลของระบบทางเดินอาหาร มีประโยชน์ต่อการขับถ่าย และช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

ประโยชน์ของพรีไบโอติกต่อระบบขับถ่ายของลูกรัก

  • ส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์สุขภาพ Bifidobacteria และ Lactobacilli
  • ช่วยทำให้อุจจาระมีลักษณะอ่อนนุ่มขึ้น
  • ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งของการขับถ่ายหรือส่งเสริมให้มีการขับถ่ายดีขึ้น
  • มีผลต่อการดูดซึมและการสะสมของเกลือแร่ในร่างกายหลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก

นมแม่มีพรีไบโอติก (Prebiotics) หรือใยอาหารซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ที่ดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เซลล์ทางเดินอาหารของทารกสร้างโปรตีน ที่ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกันได้ ชนิดของพรีไบโอติกในนมแม่คือ โอลิโกแซคคาไรด์ Oligosaccharide  

ในนมแพะก็มีพรีไบโอติก หรือใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ Oligosaccharide (Inulin & Oligofructose) เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในทางเดินอาหาร ซึ่งในนมแพะมีมากกว่าในนมวัว 4-5 เท่า (250-300 มิลลิกรัมต่อลิตร) และเป็นแบบเดียวกับนมแม่ จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและลดปัญหาลูกน้อยท้องผูก นอกจากนี้แล้ว นมแพะยังช่วยให้ลูกน้อยสบายท้องเพราะมีโปรตีนย่อยง่าย หมดปัญหาเรื่องท้องผูกลูกน้อยจึงอารมณ์ดีพัฒนาการสมวัย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในทุกๆวัน  

เรียบเรียโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง  :

  1. Prebiotic (nutrition).เข้าถึงได้จาก  https://en.wikipedia.org/wiki/Prebiotic_(nutrition). [ค้นคว้าเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2561].
  2. Probiotics for children. เข้าถึงได้จาก.  https://www.babycenter.com/0_probiotics-for-children_10401185.bc .[ค้นคว้าเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2561].
  3. Prebiotic ในนมแพะ.เข้าถึงได้จาก./https://www.dgsmartmom.com/prebiotic-goat-milk/.[ค้นคว้าเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2561].