น้ำนมแม่มาน้อย มาช้าไม่ทันใจลูก แก้ไขได้ไม่ยากเกินความสามารถของคุณแม่มือใหม่แน่นอน ก่อนที่คุณแม่จะไปเรียนรู้วิธีเพิ่มน้ำนมและสั่งน้ำนมแม่ให้ไหลทันใจลูก เรามาดูกลไกลการสร้างและหลั่งน้ำนมแม่ ที่คุณแม่ควรรู้จักกันก่อนค่ะ
กลไกลการสร้างและหลั่งน้ำนม
ภาพ กลไกลการสร้างและหลั่งน้ำนม
กลไกลการสร้างและหลั่งน้ำนม มีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องอยู่หลายตัว ได้แก่ Prolactin, Oxytocin, cortisol, อินซูลิน, ฮอร์โมนไทรอยด์ เเต่ฮอร์โมนหลักๆ ที่สำคัญในการผลิตน้ำนมมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(adenohypophysis) มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนม เมื่อระดับฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้น ก็จะเพิ่มอัตราการผลิตน้ำนมในแม่สูงขึ้น
- ฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ผลิตโดยต่อมใต้สมองส่วนหลัง(neurohypophysis) การดูดนมของลูกจะช่วยกระตุ้นการผลิตและปล่อยฮอร์โมนออกซิโตซินออกมา ฮอร์โมนออกซิโตซินทำหน้าที่ผลิตน้ำนม การหลั่งของออกซิโตซินขึ้นอยู่กับการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น เมื่อได้ยินเสียงลูกร้องหรือมองเห็นลูกจะเกิดการกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซิน ทำให้น้ำนมไหลได้ ⁽¹⁾
จะเห็นได้ว่าฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณน้ำนม แต่ถ้าคุณแม่เกิดความเครียด ความเครียดก็จะเป็นตัวยับยั้งเเละกดการสร้างฮอร์โมนสำคัญเหล่านี้ ทำให้ลดการไหลของน้ำนมแม่ได้ เมื่อทราบกลไกลการสร้างนมและหลั่งน้ำนมแล้ว มาดูวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการสั่งน้ำนมแม่ให้ไหลทันใจลูกกันเลยค่ะ…
นมแม่สั่งได้จริงๆ ด้วย 2 เทคนิคสุดเทพ
-
นมแม่สั่งได้ง่ายๆ ด้วยการดูด
การดูดนมของลูกนั้น ถือได้ว่าเป็นการช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมโดยธรรมชาติ น้ำนมที่ออกมาจะมีปริมาณเพียงพอตามความต้องการของลูก คุณแม่อาจสังเกตได้ว่า ถ้าคุณแม่ให้นมลูกช้าหลังคลอด ให้ลูกดูดนมไม่บ่อย หรือให้นมลูกไม่ถูกวิธี รวมถึงภาวะทางด้านอารมณ์ของคุณแม่ ก็ล้วนแต่ทำให้การหลั่ง oxytocin ลดลง ส่งผลให้น้ำนมแม่ มาช้า มาน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก คุณแม่จะต้องให้ลูก ดูดเร็ว ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ดูดบ่อย ประมาณ 8-12 ครั้งต่อวัน ดูดถูกวิธีและดูดอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนมและการไหลของน้ำนม ทำให้น้ำนมมาเร็วและไหลดีอีกด้วย⁽²⁾
ภาพ การดูดนมที่ถูกวิธี
-
นมแม่สั่งได้ด้วยการปั๊ม/เก็บ
ยิ่งปั๊มยิ่งเพิ่ม ยิ่งดูดเต้า นมแม่ยิ่งเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ควรปั๊มนมหรือเก็บน้ำนมควบคู่กับการให้ลูกดูด จะเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้ผลิตอยู่เสมอ แต่จะต้องปั๊มและเก็บอย่างถูกวิธี Mamaexpert มีคำแนะนำในการปั๊มและเก็บน้ำนม ที่จะทำให้คุณแม่มือใหม่กลายเป็นคุณแม่นักปั๊ม มาดูกันเลย
-
ยิ่งปั๊มบ่อย นมยิ่งมามาก!!
คุณแม่ควรปั๊มนมให้ได้เท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน หรือประมาณ 8-10 ครั้งต่อวัน เพื่อเป็นการกระตุ้นเต้านมให้ผลิตน้ำนมได้มากยิ่งขึ้น
-
ปั๊มเกลี้ยงเต้า นมยิ่งมาเร็ว!!
การปั๊มเกลี้ยงเต้า หมายถึง การระบายน้ำนมส่วนใหญ่ออกจากเต้า เป็นการช่วยให้เกิดการสร้างน้ำนมในรอบใหม่เร็วและมากยิ่งขึ้น ถ้าปั๊มนมไม่เกลี้ยงเต้าหรือให้ลูกดูดไม่เกลี้ยงเต้า นมแม่ก็จะค้างเต้า ทำให้คุณแม่เกิดการคัดเต้า และส่งผลต่อการผลิตน้ำนมนั่นเองค่ะ
นมแม่สั่งไม่ได้แก้อย่างไร
ปัญหาน้ำนมแม่มาน้อย มาช้า น้ำนมหดหาย แก้ไขได้โดยการให้ลูกดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ดูดอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทำควบคู่กับการปั๊มหรือบีบเก็บน้ำนมที่ถูกวิธี เป็นการสั่งน้ำนมให้ไหลได้ดีที่สุด แต่...คุณแม่บางคนอาจทำดีที่สุดแล้ว แต่นมแม่ยังไม่ปัง!!! คุณแม่อาจต้องพิจารณาเสริมนมผสมให้กับลูกน้อย ซึ่งการเลือกนมให้ลูกเป็นเรื่องที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจ จากการศึกษาพบว่า นมแพะ มีระบบการสร้างน้ำนมมแบบ อะโพไครน์ (Apocrine) แบบเดียวกับนมแม่ ซึ่งแตกต่างจากนมทั่วไป จึงทำให้นมแม่และนมแพะมีสารอาหารจากธรรมชาติในปริมาณที่สูง อย่าง ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์ รายละเอียดมาดูกันเลยค่ะ
โปรตีนจากนมแพะ ย่อยและดูดซึมได้ง่าย เพราะมีสัดส่วนของโปรตีนเบต้าเคซีน ที่ย่อยง่าย ปริมาณสูง ทำให้ลูกสบายท้อง ท้องไม่ผูก ที่สำคัญนมแพะยังมีโปรตีน CPP (Casein Phoshopeptids) ที่ช่วยดูดซึมแร่ธาตุสำคัญๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นมแพะมีพรีไบโอติก(Prebiotics) หรือใยอาหาร ชนิด Oligosaccharide เช่น โอลิโกฟรุคโตส และอินนูลิน ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดี ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายและลดปัญหาท้องผูกของลูกน้อยได้อีกด้วย นับว่านมแพะมีประโยชน์ครบครันค่ะ
ถึงอย่างไรก็ตาม “นมแม่” ยังคงเป็นนมที่ดีที่สุดในโลก คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องเสริมนมผสมให้กับลูก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม นมแพะ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณแม่ควรนึกถึง
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
- From Wikipedia, the free encyclopedia.Lactation. เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Lactation .[ค้นคว้าเมื่อ 18 กรฏาคม 2561]
- Australian Breastfeeding Association.Let-down reflex (milk ejection reflex) .เข้าถึงได้จาก https://www.breastfeeding.asn.au/bf-info/early-days/let-down-reflex .[ค้นคว้าเมื่อ 18 กรฏาคม 2561]
- ประโยชน์ของนมแพะ. เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/benefits-of-product/ .[ค้นคว้าเมื่อ 18 กรฏาคม 2561]
- โปรตีนในนมแพะ.Casein Phoshopeptids. เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/product-information-cpp-protein/ .[ค้นคว้าเมื่อ 18 กรฏาคม 2561]