ทำหมันแห้ง
.
.
การทำหมันแห้ง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีคุมกำเนิดยอดนิยม ที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้เกือบ 100 % แถมยังมีวิธีให้เลือกตามความเหมาะสมหลายวิธี เหมาะสำหรับการวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตรหลายคน และมีการวางแผนจำนวนคนที่จัดเจนแล้ว ก็สามารถเข้ารับการทำหมันแห้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เลย ทำหมันแห้ง คืออะไร และต่างจากหมันเปียกอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน เรามาดูรายละเอียดในบทความนี้กันเลยดีกว่า
ทำหมันแห้ง คืออะไร
การทำหมันแห้ง (Interval sterilization) คือ วิธีทำหมันในเพศหญิงอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุมกำเนิด เพื่อให้บุคคลที่ทำสามารถทำการสืบพันธุ์ต่อไปโดยที่ไม่ตั้งครรภ์ โดยวิธีทำนั้นจะเป็นการทำให้ท่อรังไข่ตัน ทำให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ การทำหมันแห้ง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ถึงแม้จะไม่ถึง 100% ก็ตาม การทำหมันแห้งคือวิธีทำหมันในช่วงระยะใดก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือทำหมันหลังคลอด 6 สัปดาห์ขึ้นไป ระยะนี้มดลูกจะมีขนาดปกติ และอยู่ในอุ้งเชิงกราน การทำหมันจึงมีความยากในการหาท่อนำไข่ ซึ่งต่างจากการทำหมันเปียกที่สามารถทำได้เลยหลังคลอด และก็ใช้เวลาในการทำไม่นาน และเมื่อทำหมันแห้งเสร็จแล้ว แพทย์จะให้พักประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง และก็สามารถกลับบ้านได้เลย
ข้อดีของการทำหมันแห้ง
การทำหมันแห้ง คือการทำหมันหลังคลอด 6 สัปดาห์ไปแล้ว หรือการทำหมันที่ไม่เกี่ยวกับการคลอดนั่นเอง ซึ่งข้อดีของการทำหมันแห้งก็คือ
- ทำหมันแห้งเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบถาวร ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเกือบ 100 % ในการวางแผนครอบครัว
- ทำหมันแห้ง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือส่งผลเสียใด ๆ ต่อสุขภาพระยะยาว เนื่องจากไม่ใช่วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน จึงช่วยลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนได้
- การทำหมัน แบบแห้งไม่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ อาจเพิ่มความสุขทางเพศ เพราะไม่ต้องคอยกังวลในเรื่องของการตั้งครรภ์อีก
- เป็นวิธีที่ประหยัด สะดวก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการคุมกำเนิด ไม่ต้องกลัวลืมในการรับประทาน หรือฉีดยาคุมกำเนิด และไม่ต้องเสียเวลาในการเข้ารับบริการการคุมกำเนิด
- ทำหมันแห้งไม่มีผลต่อการให้นมบุตรแต่อย่างใด
ข้อเสียของการทำหมันแห้ง
ถึงแม้ว่าการทำหมันแห้ง จะเป็นการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นที่นิยมในการวางแผนครอบครัว แต่ข้อเสียของ การทำหมัน แบบแห้งก็คือ
- การทำหมันต้องอาศัยการผ่าตัดในห้องผ่าตัด โดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ และเครื่องที่โดยเฉพาะที่เหมาะสม
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และการใช้ยาสลบ หรือยาระงับความเจ็บปวด
- การ ทำหมันแห้ง มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูง หากเกิดความล้มเหลวของวิธีการทำหมัน
- การทำหมันแบบแห้งในเพศหญิง เมื่อเทียบกับการทำหมันชาย จะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
- ทำหมันแห้งเป็นการคุมกำเนิดแบบถาวร การผ่าตัดต่อหมันทำได้ยาก เสียค่าใช้จ่ายสูงและมิใช่ทุกรายจะประสบผลสำเร็จ
- การทำหมันไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งเชื้อ HIV ได้
ทำหมันแห้ง VS ทำหมันเปียก ต่างกันอย่างไร
การทำหมันแห้ง จะแตกต่างจากการทำหมันเปียกเล็กน้อย การทำหมันแห้งคือการทำหมันในระยะไหนก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การทำหมันแห้งสามารถทำได้หลังคลอดไปแล้ว 6 สัปดาห์ขึ้นไป ในระยะนี้มดลูกจะมีขนาดปกติ และอยู่ในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดจึงมีความยากในการหาท่อนำไข่มากกว่า ซึ่งต่างจากการทำหมันเปียก เป็นการทำหมันในช่วงเดียวกับการคลอดลูกเลย หรืออาจทำหลังคลอดภายใน 24 – 72 ชั่วโมง หลังคลอด จึงเป็นที่มาของชื่อหมันเปียกนั่นเอง ข้อดีของการทำหมันเปียกก็คือสามารถทำได้ง่าย เพียงแค่ฉีดยาชา แล้วลงแผลผ่าตัดใต้สะดือได้เลย แผลยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตรเพื่อเข้าไปหาท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง แล้วทำการผูกท่อนำไข่ และตัดท่อนำไข่บางส่วนออก โดยจะใช้เวลาในการทำหมันเปียกเพียงแค่ 10 – 15 นาทีเท่านั้น ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว
ทำหมันแบบไหนดีกว่า
การทำหมันแห้ง และการทำหมันเปียกจะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่ให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเท่าๆ กัน แตกต่างแค่วิธีการทำเล็กน้อย เพราะฉะนั้นจะเลือกทำหมันแบบไหน จึงขึ้นกับความต้องการ และความพร้อมของแต่ละคนมากกว่า แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะเลือกทำหมันเปียกหลังคลอดเลย เพราะทำง่าย มดลูกยังคงลอยอยู่ ทำให้การหาท่อนำไข่ง่ายกว่า แผลเล็กกว่า และเจ็บตัวในช่วงหลังคลอดทีเดียวไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาทำหมันหลังคลอด เหมือนการทำหมันแห้งนั่นเอง
และนี่คือรายละเอียดของการ ทำหมันแห้ง และหมันเปียกที่เราได้รวบรวมมาฝากในวันนี้ การทำหมันแห้ง และหมันเปียกมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้เช่นกัน ซึ่งจะแตกต่างเพียงแค่วิธีการทำเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับคุณแม่ที่วางแผนการคุมกำเนิด ควรศึกษาข้อดี และข้อเสียของการทำหมันอย่างละเอียด และก่อนตัดสินใจทำควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะถ้าทำแล้วอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำเพื่อความปลอดภัย
บทความแนะนำเพิ่มเติม
2. ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ การเป็นหมันในผู้ชาย
3. รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับการทำหมันหญิง ข้อดี VS ข้อเสีย ของการทำหมันหญิง ที่ผู้หญิงควรรู้
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team