ทารกบิดตัวบ่อย เกิดจากอะไร เช็กสิอาการแบบนี้ผิดปกติไหม

23 April 2024
60 view

ทารกบิดตัวบ่อย

ทารกบิดตัวบ่อย เกิดจากอะไร เช็กสิอาการแบบนี้ผิดปกติไหม

ทารกบิดตัวบ่อยกับอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กทารกทุกคน รวมถึงลูกน้อยของคุณด้วย และด้วยความเป็นอาการที่เกิดได้บ่อย เกิดได้ง่าย จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมองข้ามอาการทารกบิดตัวบ่อยนี้ไป แต่อันที่จริงแล้วการที่ทารกบิดตัวในบางครั้งก็บ่งบอกถึงความไม่ปกติได้เช่นกัน ซึ่งส่วนนี้คงจะยากแก่การแยกแยะและสังเกต หากคุณเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่เมื่อคุณได้อ่านบทความนี้ได้ คุณก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราพร้อมจะเป็นตัวช่วยให้แก่คุณ รวมถึงเรายังมอบเทคนิคเล็ก ๆ สำหรับการช่วยลูกน้อย เมื่อทารกบิดตัวบ่อยจากความไม่สบายท้องอีกด้วย

ทารกบิดตัวบ่อย มีสาเหตุมาจากอะไร

ทารกบิดตัวบ่อยเป็นอาการที่สามารถสังเกตได้ เมื่อลูกน้อยมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน จนกระทั่งถึง 1 ปี ซึ่งการที่ทารกบิดตัวบ่อยนั้นมีสาเหตุ ดังนี้

  1. บิดตัวเพื่อให้ผ่อนคลาย ทารกจะบิดตัวเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายจากความเมื่อยล้า หรือ เมื่อทารกเกิดความไม่สบายตัวขึ้น ซึ่งสาเหตุในข้อนี้ก็เหมือนกับสาเหตุที่ผู้ใหญ่บิดตัว
  2. บิดตัวเพื่อขับถ่ายไม่ว่าจะเป็นการถ่ายหนักอย่างการอุจจาระ หรือ แม้แต่การผายลม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะใช้จุดนี้สังเกตได้ เมื่อทารกบิดตัวพร้อม ๆ ไปกับการเกิดกลิ่นขึ้น
  3. บิดตัวเพื่อการขยายตัวทารกบิดตัวบ่อยอีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากการขยายตัว ซึ่งก็คือ การขยายตัวของข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย และ การขยายตัวของกล้ามเนื้อ ที่ล้วนทำให้อวัยวะเหล่านี้เกิดการทำงานที่สมบูรณ์

อาการทารกบิดตัวแบบไหน ที่ไม่ปกติ

ทารกบิดตัวบ่อยเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกทุกคนก็จริง แต่หากทารกบิดตัวบ่อยพร้อม ๆ กับอาการดังต่อไปนี้จะนับว่าเป็นอาการบิดตัวที่ไม่ปกติ โดยอาการดังกล่าว คือ

  1. ลูกน้อยบิดตัวพร้อมกับการร้องไห้อย่างหนัก เป็นอาการบิดตัวที่ไม่ได้แสดงออกว่าเป็นการบิดตัวเพื่อให้เกิดความสบายตัว แต่อาการบิดตัวนี้นำมาซึ่งความไม่สบายร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่งของลูกน้อย
  2. ลูกน้อยบิดตัวพร้อมส่งเสียงฮึด เป็นอาการที่ลูกน้อยกำลังบอกคุณพ่อคุณแม่ว่ากำลังอยากที่จะถ่ายของเสีย หรือ กำลังถ่ายของเสียอยู่ โดยของเสียเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งการถ่ายอุจจาระ หรือ แม้แต่การผายลม
  3. ลูกน้อยบิดตัวพร้อมกับการแอ่นหลัง และ ส่งเสียงฮึด เป็นการบ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังไม่สบายในส่วนของระบบทางเดินอาหาร ลูกน้อยอาจกำลังจุกสียดท้อง หรือ มีอาการของกรดไหลย้อนอยู่ และควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์
  4. ลูกน้อยบิดตัวพร้อมกับแอ่นหลัง จะแตกต่างจากข้อ 3 ที่ไม่มีการส่งเสียงออกมา ส่วนนี้ก็เป็นการบ่งบอกถึงสภาวะที่เกี่ยงเนื่องกับความไม่สบายท้องอีกเช่นกัน แต่เป็นการไม่สบายท้องในช่วงต้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการดังกล่าวก็ควรอุ้มลูกน้อย เพื่อป้องกันอาการกรดไหลย้อนที่จะตามมาได้

ทำอย่างไร หากลูกบิดตัวเพราะท้องอืด ไม่สบายท้อง

เมื่อทารกบิดตัวบ่อยจากอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง คุณพ่อคุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยสบายท้องขึ้นได้ ดังนี้

1.การอุ้มลูกน้อยพาดบ่า

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดอาการท้องอืดของลูกน้อยได้ด้วยการอุ้มลูกน้อยพาดบ่า จากนั้นให้คุณพ่อคุณแม่ลูบหลังลูกน้อยจากล่างขึ้นบน สลับกับการตบหลังลูกน้อยอย่างเบามือ

2.นวดท้องให้ลูกน้อย

เริ่มง่าย ๆ ด้วยการจัดท่าทางนอนหงายให้ลูกน้อย จากนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ทำการนวดลูกน้อย โดยเริ่มจากการนวดฝั่งซ้ายของท้องจากลิ้นปี่ไปยังท้องน้อย จากนั้นก็นวดฝั่งขวาต่อ เมื่อนวดถึงลิ้นปี่แล้วก็นวดต่อมายังสะดือ จากฝั่งซ้าย แล้วย้ายไปฝั่งขวาอีกเช่นกัน

3.ทำกายบริหารให้ลูกน้อยก่อนนอน

โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำกายบริหารให้ลูกน้อยก็คือช่วงเวลาหลังจากที่คุณอาบน้ำและแต่งตัวให้ลูกน้อยเสร็จ โดยกายบริหารที่เหมาะกับทารกก็คือ การทำท่าจักรยานอากาศให้ลูกน้อย ต่อด้วยการนวดท้องลูกน้อยเบา ๆ

4.เลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้ลูกน้อย

อาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อยก็คือ น้ำนมแม่ ซึ่งจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับร่างกายของลูกน้อย แต่เมื่อใดก็ตามที่ลูกน้อยจำเป็นต้องดื่มนมชง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้นมที่ถูกต้องตามโภชนาการของลูกน้อย เพราะทารกบางคนอาจมีอาการแพ้นม หรือ ไม่ย่อย จนนำไปสู่อาการท้องอืดได้ การป้องกันและบรรเทาอาการท้องอืดที่ดีที่สุดก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ ณ ส่วนนี้

การบิดตัวเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งยามหลับและยามตื่น อีกทั้งอาการบิดตัวนี้ยังสามารถเกิดได้กับเจ้าตัวเล็ก หรือ ลูกน้อยของคุณอีกด้วย เมื่อผู้ใหญ่บิดตัวมักจะเกิดจากความไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว แต่เมื่อทารกบิดตัวก็มักทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความสงสัยว่าเกิดจากสิ่งใด ยิ่งทารกบิดตัวบ่อย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องรีบเช็คว่าเกิดจากอะไร และ มีอาการผิดปกติร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเฝ้าระวัง รวมถึงสามารถพาลูกน้อยไปพบแพทย์ได้ทันเวลาหากเกิดอาการผิดปกติที่นำมาซึ่งการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้น

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1.ลูกไม่สบายบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดูแลรักษาอย่างไร

2.รู้ไหม ปล่อยให้ลูกป่วยบ่อย ขัดขวางพัฒนาการลูก

3.ลูกสะอึกบ่อย ทำอย่างไรดี มาดูสาเหตุและวิธีแก้อาการสะอึก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team