ความสูงของยอดมดลูก
ความสูงของยอดมดลูกกับ ขนาดทารกในครรภ์
เมื่อมีการตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถดูพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้จากการขยายตัวของมดลูก สูติแพทย์วัดความสูงของยอดมดลูกเพื่อประเมินขนาดทารกในครรภ์อย่างคร่าวๆหากพบว่า ขนาดทารกในครรภ์ ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ แพทย์ อาจส่งตรวจอัลตราซาวด์เป็นลำดับต่อไปค่ะ อายุครรภ์ และขนาดยอดมดลูกปกติตามนี้
ความสูงของยอดมดลูกแต่ละช่วงอายุครรภ์
- อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว
- อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว
- อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ
- อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย
- อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ
- อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ
- อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ
ความสูงยอดของมดลูกบอกสุขภาพทารกในครรภ์ได้อย่างไร
หากระดับยอดมดลูกไม่สัมพันธ์ตามที่กล่าวมา อยู่ต่ำกว่า อาจบ่งบอกได้ว่า ทารกในครรภ์มีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth restriction) คืออะไร ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (ภาวะทารกโตช้าในครรภ์) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Intrauterine growth restriction หรือ Intrauterine growth retardation ย่อว่า IUGR หมาย ถึง การที่ทารกในครรภ์ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพที่ควรจะเป็น ทารกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในอายุครรภนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่เจริญเติบโตปกติ ทารกกลุ่มนี้จะจัดว่าเป็นทารกที่มีขนาด/น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์จริง ซึ่งโดยทั่วไปใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวน้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ (Percentile) ที่ 10 ของอายุครรภ์นั้นๆ แต่ทารกที่น้ำหนักน้อยหรือตัวเล็ก ไม่ได้หมายความว่าจะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ทั้งหมด ทารกที่พ่อและแม่ตัวเล็ก ทารกก็จะมีขนาดเล็กด้วย แม้ว่าจะเจริญเติบโตปกติ ทั้งนี้ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบ่งเป็น 2 ประ เภท คือ
- ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR) ทารกกลุ่มนี้จะมีขนาดเล็กเหมือนเด็กตัวเล็ก (จากการวัดสัดส่วนจะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น) ทั้งขนาดศีรษะ เส้นรอบท้อง และ/หรือความสูง สัดส่วนจึงไม่แตกต่างจากเด็กปกติที่ตัวเล็ก สาเหตุของกลุ่มนี้ มักเกิดจากความผิดปกติที่ตัวทารกเอง เช่น มีโครโมโซม (Chromosome) ผิดปกติ, การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ทำให้เซลล์ร่างกายไม่เจริญเติบโต เป็นต้น
- ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR) พบความผิด ปกติชนิดนี้ได้บ่อยกว่าชนิดแรก การเติบโตช้าจะเกิดช่วงหลังๆของการตั้งครรภ์ เช่น มารดาช่วง แรกของการตั้งครรภ์ปกติดี ทารกก็เจริญเติบโตตามปกติ แต่เมื่อช่วงอายุครรภ์มากขึ้นหรือใกล้คลอด มารดาเกิดมีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ การเจริญเติบ โตของทารกจึงไม่เต็มศักยภาพ ทำให้ตัวเล็ก ซึ่งเมื่อทำการตรวจท้องด้วยอัลตราซาวด์ ขนาดศีรษะทารกจะเป็นไปตามอายุครรภ์นั้นๆ แต่ขนาดของท้องทารกมักจะเล็กกว่าอายุครรภ์ที่แท้ จริง เนื่องจากร่างกายทารกมีการปรับตัวที่จะส่งอาหารไปยังส่วนที่สำคัญที่สุด คือ สมอง นั่นเอง
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. อายุครรภ์กับขนาดท้อง มีความสำคัญอย่างไร
2. ยาบำรุงครรภ์ เพื่อบำรุงลูกให้แข็งแรงไม่พิการ มีตัวไหนบ้าง
3. เทคนิคบำรุงครรภ์ กินอย่างไรให้น้ำหนักไปลงที่ลูก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team