ตั้งครรภ์ 2 เดือน (ท้อง 2 เดือน) การเปลี่ยนแปลงของแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ 2 เดือน

02 November 2017
529531 view

ตั้งครรภ์ 2 เดือน  

ตั้งครรภ์เดือนที่ 2 แล้วคุณแม่เริ่มชินบ้างหรือยัง อาการที่ยังมีอยู่คืออาการแพ้ท้อง ช่วง 4 – 8 สัปดาห์ เป็นช่วงที่แพ้มากคุณแม่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอและดูแลตนเองตามคำแนะนำดังนี้ค่ะ
สุขภาพครรภ์ การตั้งครรภ์เดือนที่2 และ พัฒนาการทารกในครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ 2 เดือน

ระยะนี้เป็นระยะสำคัญที่สุดเนื่องจาก จะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้นไม่ว่าการติดเชื้อไวรัส ยาที่รับประทาน หรือสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต หากเด็กได้รับช่วงนี้ จะเกิดความพิการได้ ทารกในครรภ์ จะมีขนาด .08-.8 นิ้ว เริ่มมีการสร้างแขน ขา ตา ในช่วงสัปดาห์ที่7-8 จะเริ่มสร้างนิ้วมือ อาจจะได้ยินเสียงหัวใจเด็กเมื่อตรวจด้วย ultrasound เมื่อสิ้นสุดเดือนที่สองอวัยวะต่างๆจะพัฒนา เช่น สมอง ตับ หัวใจ กระเพาะ นิ้ว มือ หู และอวัยวะเพศ ในระยะนี้เด็กจะมีขนาด 1 นิ้วเราเรียกระยะนี้ว่า fetus

 คลิปพัฒนาการทารกในครรภ์เมื่อ ตั้งครรภ์ 2 เดือน

การดูแลครรภ์เมื่อ ตั้งครรภ์ 2 เดือน  

น้ำหนักจะเริ่มเพิ่มขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ยังแพ้ท้องอยู่น้ำหนักอาจจะไม่เพิ่ม เสื้อผ้าจะเริ่มคับ เต้านม ขาจะใหญ่ขึ้นผู้ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดอาการของคนตั้งครรภ์คือ รู้สึกเหนื่อย ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องอืดเพ้อ คัดเต้านม หัวนมจะมีสีคล้ำขึ้น ปวดศีรษะ รู้สึกว่าเสื้อผ้าจะคับ อารมณ์จะยังคงผันผวน คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการปวดท้องน้อยเป็นระยะเนื่องจากการบีบตัวของมดลูก

1. ตั้งครรภ์2เดือน เริ่มปวดปัสสาวะบ่อย การที่มีฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรนจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบผ่อนคลายมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็เป็นกล้ามเนื้อเรียบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีปัสสาวะปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้ ซึ่งเป็นเหตุผลให้คุณแม่ต้องปัสสาวะบ่อยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่พบห้องน้ำที่ไหนให้เข้าไว้ก่อน และเมื่อปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นั่งรอ 2 – 3 นาที บางทีคุณแม่ก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาอีก

2. ตั้งครรภ์2เดือน อาจท้องผูกบ่อย หากคุณแม่เป็นคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน การที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆและการนอนมากๆในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ท้องผูกได้ ดังนั้น คุณแม่อาจเริ่มที่จะออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเป็นเวลา 15 – 20 นาทีในตอนเช้า แล้วกลับมาดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นๆ และนั่งพัก คุณแม่อาจเริ่มปวดท้องขึ้นมาได้ หรือพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ รับประทานพืชผักที่ให้กากอาหารมากขึ้นก็จะช่วยได้ แต่ถ้าคุณแม่เป็นคนที่ท้องผูกเป็นกิจวัตรและใช้ยาระบายมาตลอด ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาระบายทุกชนิด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลทำให้แท้งบุตรได้เลยทีเดียว

3. ตั้งครรภ์2เดือน อาจรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียบ่อยๆ  อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คุณแม่อาจคิดว่าคุณหมอกล่าวหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้เป็นผู้ร้ายอยู่เสมอ แต่ความเป็นจริงก็คือ เคยมีนักวิจัยทำการทดลองโดยการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้กับหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่าหนูหลับเพราะฮอร์โมนนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวนั่นเอง ดังนั้น หากรู้สึกเหนื่อยก็นอนพัก นอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถนอนได้ เพราะธรรมชาติต้องการให้เป็นเช่นนั้น หากการนอนกลางวันเป็นการฝืนใจคุณแม่ ให้ลองนึกว่ามีอีกคนที่กำลังง่วงและอยากจะนอนแล้ว

4. ตั้งครรภ์2เดือน อาจตรวจท้องนอกมดลูก การท้องนอกมดลูกอาจตรวจพบในเดือนที่3ของการตั้งครรภ์ได้ การท้องนอกมดลูก คือ การที่ตัวอ่อนไปฝังตัวในที่อื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ หรือในช่องท้อง จะมีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยอยู่เรื่อยๆ และมีอาการปวดท้องซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งทนไม่ไหว ซึ่งถ้าเกิดการท้องที่ท่อนำไข่แล้วท่อนำไข่แตก เลือดจะไหลเข้าไปในช่องท้องทำให้เสียเลือดมากจนอาจช็อกหมดสติได้ การท้องนอกมดลูกสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน hCG และตรวจอัลตร้าซาวด์เปรียบเทียบจะไม่พบถุงน้ำคร่ำในโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่แน่ชัดทำได้โดยการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง Laparoscopy การวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่ ตั้งครรภ์2เดือน

1. บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยอาหารคุณภาพ มีขนมปังแครกเกอร์แบบเค็มๆไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อคุณแม่ตื่นขึ้นมาให้รับประทานทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้น อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่าง

2. หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง เนื่องจากคุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการแน่นท้อง ลองรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อยๆแต่รับประทานหลายๆมื้อ ในแต่ละมื้อรับประทานเพียงน้อยๆก็พอ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ฝืนใจจนเกินไปนัก คุณแม่อาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5 – 6 มื้อต่อวัน ดื่มน้ำให้มาก แต่อย่าดื่มน้ำร่วมกับอาหารหรือหลังอาหารทันที ให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด หากเครื่องดื่มทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ลองรับประทานผักผลไม้ เช่น ผักกาดหอมเพราะจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก รับประทานน้ำผลไม้ใส่น้ำแข็ง เชอร์เบท ไอศกรีม โยเกิร์ต นมปั่นแม้ว่าคุณไม่รู้สึกหิว แต่ควรพยายามบังคับให้ตัวเองรับประทาน เพราะการที่ท้องว่างจะทำให้คุณอาเจียนได้ง่ายกว่าที่มีอาหารอยู่ในท้อง อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะรับประทานได้ง่ายกว่า เช่น ขนมปังแห้งๆ กรอบๆ  ธัญพืช  หรือข้าวสวยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิดอาจทำให้คุณแม่ไม่สบายท้อง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู คุณแม่อาจลองรับประทานไข่ต้มสุกๆ แทนน่าจะดีขึ้นหลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้ท้องของคุณปั่นป่วน หากจำเป็นต้องปรุงอาหารให้เปิดหน้าต่าง เปิดพัดลมดูดกลิ่น

3.บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยา วิตามินเสริมที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้  ดังนั้น หากคุณแม่ที่เคยมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก่อนอย่าลืมแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย วิตามิน B จะช่วยให้อาการแพ้ท้องดีขึ้น ดังนั้น คุณหมออาจสั่งวิตามิน B complex หรือ B6 ให้ หากทุกวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผลสำหรับคุณแม่ และคุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียวิงเวียนและรู้สึกไม่สบายมาก  อย่าใช้ยาอะไรที่คุณหมอไม่ได้สั่งให้โดยเด็ดขาด แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกว่ามันเป็นยาธรรมดาที่ใช้ประจำ ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่คุณไม่ทราบและยาชนิดนั้นอาจส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้

บทบาทของคุณพ่อเมื่อภรรยาตั้งครรภ์ 2 เดือน 

คุณพ่ออาจมีอารมณ์แปรปรวนเหมือนๆกะบคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ เพราะไม่ทราบวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการของคนท้อง ดังนั้นท่านต้องปรึกษากับพ่อบ้านว่าวิธีบรรเทาอาการควรทำอย่างไร ช่วงนี้พ่อบ้านอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มทุกครั้งที่ท่านไปตามนัด แพทย์จะวัดความความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาล และไข่ขาวในปัสสาวะ และวัดขนาดของมดลูก แพทย์จะถามถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนั้นควรจดปัญหาที่เกิดไว้เพื่อถามแพทย์สิ่งที่ต้องปฏิบัติเนื่องจากในระยะนี้สมองเด็กเริ่มมีการพัฒนาท่านจะต้องรับประทานกรดโฟลิกเพื่อป้องกันความพิการทางสมอง

  •     รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  •     รับประทานอาหารหลายครั้งแทนการรับประทานสามมื้อเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
  •     เลือกยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะจะช่วยลดอาการคัดเต้านม
  •     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เลือกอ่านอายุครรภ์อื่นๆ โดยการคลิกที่ตัวเลขค่ะ 

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team