เริมในเด็กแรกเกิด
เด็กเล็กภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะ เชื้อโรคที่ติดต่อทางการสัมผัส และการหายใจรดกัน เด็กๆน่ารัก น่ากอด น่าหอม บางครั้งยากที่จะอดใจต่อเพื่อนๆของพ่อแม่และญาติพี่น้อง พอเจอตัวเล็กก็จับแก้มบ้าง จุ๊บบ้าง การกระทำดังกล่าวทำให้ลูกของเราติดเชื้อได้ค่ะ
ตัวอย่างเคส เด็กวัย 24 วัน ติดเชื้อเริม จนเสียชีวิต คาดว่าติดจากบุคคลอื่น เนื่องจากแพทย์ ทำการตรวจสอบจากพ่อแม่แล้วไม่พบเชื้อ
สำหรับไวรัส Herpes simplex virus (HSV) เป็นไวรัสที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสาเหตุก่อโรคเริม มี 2 ชนิด คือ Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus type 2 (HSV-2) ไวรัสทั้งสองชนิดนี้เป็นสาเหตุก่อโรคในคนได้หลายแบบ มีการติดเชื้อเฉพาะที่ (localized infection) และอาจมีการติดเชื้อแบบทั่วไป (systemic infection) พบตั้งแต่ไม่มีอาการโรค จนถึงมีอาการโรครุนแรงมากจนเสียชีวิต
อาการติดเชื้อเริมในเด็กแรกเกิด
อาการคือ ไข้ ซึม ไม่ดูดนม ตุ่มน้ำใสที่ผิวหนังหรือ เป็นแผลในปาก ถ้ารักษาทันด้วยยา acyclovir ก็มีโอกาสรอด แต่ก็มีโอกาสพิการทางสมองค่อนข้างสูง
การรักษาเริมในเด็กแรกเกิด
- เมื่อเกิดอาการครั้งแรกในระยะตุ่มน้ำใส ควรรับไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยถูกต้องแน่นอน ซึ่งอาจได้รับยาที่ช่วยให้อาการระยะเฉียบพลันดีขึ้น
- รักษาความสะอาดของร่างกายรวมทั้งล้างมือให้สะอาดทันทีหลังจับต้องแผล เพราะอาจจะนำเชื้อไปสู่ส่วนอื่นของร่างกายได้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การจูบ ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกันโดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำเพาะมีโอกาสติดเชื้อง่าย
- ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
- ให้ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ
- การรับประทานยาฆ่าเชื้ออาจจะทำให้หายเร็วขึ้น
รูปภาพ เคสตัวอย่างติดเริมจากการหอม และจุ๊บ
โรคแทรกซ้อน เริมในเด็กแรกเกิด
- ตาบอดได้หากเชื้อนี้เกิดที่ตา
- เชื้อนี้แพร่ไปติดเนื้อเยื่อข้างเคียง
- มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผื่น
- มีการกลับเป็นซ้ำของผื่น
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องการติดเชื้อนี้อาจจะทำให้เสียชีวิต
การป้องกันเริมในเด็กแรกเกิด
- ระวังการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นเริมและยังมีผื่นในระยะติดต่อ
- อย่าใช้ของร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
นอกจากเชื้อเริมแล้ว ยังมีเชื้ออื่นๆที่อันตรายและติดต่อได้ง่ายมาก เช่น ไวรัสหวัด สุกใส โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณพ่อ คุณแม่ ควรต้องห่วง หวงลูก ไม่ให้ใครอุ้ม กอด จุ๊บๆ ง่ายๆ ค่ะ คุณพ่อคุณแม่เองก็อย่าลืมล้างมือก่อนสัมผัสลูกน้อยนะคะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
2. ผื่นผ้าอ้อม เคล็ดลับดีๆและวิธีป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อม
3. ประเภทของผดผื่นในเด็ก และการดูแลผื่นที่ถูกต้องเพื่อให้ผื่นหายเร็ว
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ภาพประกอบจาก : เฟซบุ๊ค Claire Henderson