ลูกน้อยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
การดูแลที่ถูกต้องเมื่อลูกน้อยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อุบัติเหตุน้ำร้อนลวกเด็กเล็กเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวโน้มสูงขึ้นทุกๆปี ล้วนแล้วแต่เกิดจากความประมาทของผู้เลี้ยง ไฟไหม้น้ำร้อนลวกทำให้เจ็บปวดทางร่างกาย บางรายเสียชีวิตจากแผลติดเชื้อ ในรายที่รุนแรงไม่มากเกิดรอยแผล รอยเเผลเป็น ดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพจิตลูกในอนาคตได้ หากเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวกลูกน้อยขึ้นคุณแม่สามารถให้การพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้องปลอดภัยก่อนถึงมือแพทย์ ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจความรุนแรงของของแผลน้ำร้อนลวกก่อน ทางการแพทย์แบ่งระกับของแผลน้ำร้อนลวกรวมถึงแผลไฟไหม้ออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Degree of burn wound
- ระดับ 1 ( First degree burn ) บาดแผลอยู่แค่เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น โดยปกติจะหายเร็ว และไม่เกิดแผลเป็นโดยผิวหนังจะเป็นสีแดง อาจมีอาการบวม และปวดแสบเล็กน้อย การรักษาที่จะได้รับเมื่อพบแพทย์ คือ การใช้ครีมยาทาแผลเฉพาะภายนอก ปิดด้วยผลิตภัณฑ์ปิดแผลชนิดต่างๆระยะเวลาของรักษาประมาณ 7 วัน
- ระดับ 2 ( secon degree burn ) บาดเจ็บบริเวณชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ ผิวหนังของลูกจะแดงจัด บวม พุพอง ซึ่งอาจทำให้ลูกปวด และแสบแผลมาก หากไม่รุนแรง การรักษาที่ได้รับคือ การใช้ครีมยาทาแผลเฉพาะภายนอก ปิดด้วยผลิตภัณฑ์ปิดแผลชนิดต่างๆการหายของแผลใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไม่เกิดแผลเป็น ถ้ารุนแรงอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพิ่ม แผลมักจะหายได้ภายใน 3-6 สัปดาห์ การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่จะช่วยให้แผลไม่ติดเชื้อ
- ระดับ 3 (Third degree burn ) เกิดความเสียหายของผิวหนังมากและรุนแรงที่สุด เพราะชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อนผิวหนังของลูกจะเป็นสีดำไหม้ หนังลอกจนเห็นผิวเนื้อสีขาวเส้นประสาทบนผิวหนังถูกทำลาย ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด แผลไฟไหม้ นํ้าร้อนลวกระดับนี้ หากไม่ได้รับการรักษาถูกวิธีอาจติดเชื้อ และเป็นอันตรายได้ การรักษา อาจต้องใช้่การรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผิวหนังและระยะเวลารักษาค่อนข้างยาวนาน
การพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกน้อยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
การพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกน้อยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่คุณแม่สามารถทำได้ก่อนไปโรงพยาบาล ดังนี้
- ถ้าบาดแผลอยู่แค่เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้อง อาจใช้สบู่อ่อนชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนและล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นใช้ผ้าสะอาดปิดแผลและไปพบแพทย์
- ถ้าบาดเจ็บบริเวณชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ ผิวหนังของลูกจะแดงจัด บวม พุพอง ซึ่งอาจทำให้ลูกปวด และแสบแผลมาก ถ้าลูกบ่นปวดแผลคุณแม่ให้ลูกรับประทานยา บรรเทาปวด พาราเซตามอลได้ทันที
- ถ้าเกิดความเสียหายของผิวหนังมากและรุนแรง ชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อนผิวหนังของลูกจะเป็นสีดำไหม้ หนังลอกจนเห็นผิวเนื้อสีขาวเส้นประสาทบนผิวหนังถูกทำลาย ให้คุณแม่รีบถอดเสื้อผ้าของลูกออก ยกเว้นกรณีเสื้อผ้านั้นไหม้ติดบาดแผลไปแล้ว ให้คุณแม่ยกบริเวณที่มีบาดแผลให้สูงกว่าระดับหน้าอก ระหว่างที่นำส่งโรงพยาบาล ใช้ผ้าสะอาดชุบนํ้าเย็นประคบประมาณ 10-20 นาที โดยอาจต้องชุบนํ้าบ่อยๆ เพื่อรักษาความเย็น อย่าจุ่มตัวหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกลงไปในนํ้าเย็นเพราะอาจทำให้ลูกช็อกได้เสียชีวิตได้
สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดเมื่อลูกน้อยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้
- ห้ามใช้ยาสีฟันหรือครีมอื่นใดชะโลมบนแผล เพราะอาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น
- ห้ามนำลูกไปแช่ในอ่างน้ำเย็น เพราะอาจทำให้ลูกช็อคหมดสติ ถึงเสียชีวิตได้
คุณแม่ได้ทราบถึงการดูแลบาดแผลระดับต่างๆอย่างถูกต้องแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ต้องตั้งสติก่อนเสมอแล้วคุณแม่จะสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างดีและลูกได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ถ้าจะให้ดี ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยเพื่อลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1.เด็กศีรษะกระแทกพื้น ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยสูงสุด
2.ดูแลผิวลูกรัก อย่างเข้าใจไร้ผดผื่น
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorail Team