ตั้งครรภ์ 3เดือน (ท้อง 3 เดือน) การเปลี่ยนแปลงของแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือน

02 November 2017
263387 view

ตั้งครรภ์ 3เดือน

พัฒนาของทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์3เดือน

เด็กทารกวัยนี้จะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้ นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่ท่านยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก แขนและมือจะมียาวกว่าขา ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวหัวใจจะมี4 ห้อง หัวใจจะเต้น 120-160 ครั้ง ไตเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะและถูกนำออกโดยสายสะดือ เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 4 นิ้ว
 
สุขภาพครรภ์  การตั้งครรภ์เดือนที่ 3 และพัฒนาการทารกในครรภ์

 

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์3เดือน

 เมื่อไปฝากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจ ขนาดของมดลูกเพื่อเปรียบเทียบกับอายุครรภ์ระยะนี้ยังคงมีอาการของคนแพ้ท้อง จะพบว่าเส้นเลือดที่นม ท้อง ขา เริ่มขยาย ท้องจะเริ่มโต ผู้ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกอยากอาหาร อารมณ์จะผันผวนน้อยลง
 

คลิป พัฒนาการทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ 3 เดือน

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 3 เดือน

1. ระวังเรื่องการใช้ยา การใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด หากคุณแม่มีโรคประจำตัวใดๆควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย และหากไม่สามารถมาพบคุณหมอได้ในกรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากหมอท่านอื่น ควรบอกคุณหมอด้วยว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
 
2. การดูแลผิวพรรณป้องกันท้องลาย  เดือนที่3หน้าท้องมีการขยายออกอย่างรวดเร็วในขณะตั้งครรภ์ และผิวหนังไม่มีความยืดหยุ่นดีพอก็จะแตกลายได้ จะทำให้คันยิ่งถ้าไปเกาท้องก็จะลายมากขึ้น และเมื่อคลอดผิวหนังมีการหดกลับลงอย่างรวดเร็วก็จะทำให้ลายมากขึ้นเหมือนคนที่อ้วนแล้วผอมอย่างรวดเร็ว คนท้องทุกคนไม่จำเป็นที่จะต้องท้องลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวหนังของแต่ละคนด้วยการป้องกันท้องลายสามารถทำได้โดยทาครีมชนิดเข้มข้นและนวดเบาๆ ทาครีมให้ทั่วบริเวณท้อง ต้นขา หน้าอก ก้น ทาบ่อยๆได้ยิ่งดี หากผิวที่แตกจะทำให้คันแต่ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ท้องลายมากขึ้น เวลานอนให้ใช้หมอนเล็กๆหลายๆใบหนุนท้องเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักไว้ จะทำให้ท้องลายน้อยลงโดยเฉพาะบริเวณท้องด้านข้างท้องลายมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากขนาดของท้องจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเดือนที่ 3 นี้คุณแม่จะยังไม่พบว่าท้องลาย แต่ก็ควรทาครีมอย่างสม่ำเสมอทุกๆวันตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว เตรียมความพร้อมเมื่อผิวต้องขยายออกอย่างรวดเร็วจะได้ไม่แตกลาย นอกจากนี้คุณแม่ควรดูแลเล็บไม่ให้เล็บยาวเพราะจะทำให้เผลอเกาท้องได้ การตัดเล็บควรตัดเป็นเส้นตรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเล็บขบ ควรแช่มือและเท้าในน้ำอุ่นสักสิบนาทีจะทำให้เล็บอ่อนลงจะช่วยให้ตัดง่ายขึ้น
 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อตั้งครรภ์3เดือน

 

1. ภาวะเครียด  

ความเครียด ความวิตกกังวลในการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการที่การตั้งครรภ์เป็นสิ่งใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และคุณแม่ยังมีความรักความห่วงใยต่อทารกในครรภ์ คุณแม่อาจไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งล้วนเป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นหากมีมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกได้ มีรายงานการวิจัยที่รายงานระบุว่า ความเครียดมีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง คลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักน้อยเมื่อคลอด เป็นต้น การลดความเครียดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำต่างๆการที่คุณแม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากขึ้นจะทำให้คุณแม่สามารถเตรียมรับ หรือเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่า และความเครียดของคุณแม่ก็จะน้อยลง คุณแม่อาจพูดคุยถึงสิ่งที่วิตกกังวลกับคุณพ่อ หรือคุณยาย หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อนก็อาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้
 

2.แท้งบุตร  

เพราะการแท้งบุตรพบมากใน การตั้งครรภ์เดือนที่ 3  ทารกที่แท้งในช่วงไตรมาสแรกมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ โครโมโซมของทารก สาเหตุของการแท้งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของ ทารกและการตั้งครรภ์ไข่ฝ่อ (Blighted ovum) คือ การท้องที่มีการฝังตัวของรกแต่ไม่เกิดตัวเด็ก ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสุ่มเลือกของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่มีความผิดปกติหรืออ่อนแอก็จะตายไปความผิดปกติของฮอร์โมน พบว่ามารดาที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่ำ โดยฮอร์โมนมีผลต่อคุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน และเป็นแหล่งอาหารสำหรับ การเจริญเติบโต หากฮอร์โมนน้อยเยื่อบุโพรงมดลูก ก็มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ตัวอ่อนก็เจริญต่อไม่ได้จะทำให้เกิดการแท้งขึ้นมีความผิดปกติของกายวิภาคของมดลูกและ ปากมดลูกของมารดา เช่นโพรงมดลูกมี ผนังกั้นตรงกลางมีมดลูกสองอัน ปากมดลูกสองอัน ช่องคลอดสองอัน หรือมีเนื้องอกของมดลูก ชนิดของเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน ซึ่งมักพบในชาวผิวขาวมากกว่าผิวเหลือง


3.การติดเชื้อ

เช่น ซิฟิลิสระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก ยกของหนัก และการกระทบกระเทือน