โรคแพ้แสงเเดดในเด็ก (Chronic Actinic Dermatitis) เกิดจาการการแพ้เเสงยูวี เอ และยูวีบี เมื่อถูกแสงแดดสัมผัส จะไปกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกายให้เกิดความแปรปรวน และเเสดงอาการออกมา
โรคแพ้แสงเเดดในเด็ก มีอาการอย่างไร
หลังจากสัมผัสแสงแแด จะมีอาการคัน และมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ในรายที่แพ้มาก จะเป็นผื่นนูนคันตั้งแต่ศีรษะจนไปถึงข้อเท้า มีลักษณะคล้ายผิวคางคกและบางทีมีน้ำเหลืองด้วย ซึ่งร่างกายจะแสดงอาการเมื่อมีการสะสมพลังงานพอ
โรคแพ้แสงเเดดในเด็ก รักษาอย่างไร
รักษาตามอาการที่แสดง บางรายต้องใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อไม่ให้อาการกำเริบและให้แช่ในสารฟอกขาวด้วย
โรคแพ้แสงเเดดในเด็ก ป้องกันได้หรือไม่
- ทาครีมกันแดดสำหรับเด็กที่ป้องกันยูวีเอและยูวีบี ซึ่งมีค่า SPF 40 ขึ้นไป และทาทับทุกๆ 2 ชั่วโมง
- สวมหมวกปีกกว้างสีเข้ม สามารถป้องกันรังสียูวีที่กระทบที่หน้าได้ 50-80 %
- กางร่มให้ห่างจากผิวหนัง 10-20 เซนติเมตร
- คุณพ่อคุณแม่ต้องพิจตารณาติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ปัจจุบันฟิล์มกรองแสงสามารถกรองแสงได้แทบทุกความยาวคลื่น
- ไม่พาลูกเล่นตากเเดดมากเกินไป แสงแดดที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอยู่ในช่วงเวลา 7 – 8 โมงเช้า และเย็น 5 -6 โมงเย็น
ตัวอย่างเคส โรคแพ้เเสงแดดในเด็ก ประเทศออสเตรเลีย
หนูน้อยมอนโร มิลส์ วัย 2 ขวบ จากรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเธอเป็นโรคผิวหนังและแพ้แสงอาทิตย์ขั้นรุนแรง ถึงขั้นที่ว่าถ้าออกไปเจอแดดเมื่อไหร่ เพียงไม่กี่วินาทีหลังจากนั้น ผิวหนังก็จะขึ้นเป็นผื่นทั่วตัว ปวดแสบปวดร้อนทันที นอกจากนี้จะยังมีอาการอื่นๆด้วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง อ่อนแรง และวิงเวียนศีรษะ ทั้งหมดนี้สร้างความทุกข์ใจให้แก่ซาร่าห์ มิลส์ ผู้เป็นแม่มากไม่เพียงแต่แสงแดดเท่านั้น แต่แค่เวลาไปช็อปปิ้งกับแม่ แล้วเจอแสงไฟในห้าง อาการของมอนโรก็ออกแล้ว คือมีแผลเป็นจ้ำๆทันที และทางเดียวที่จะบรรเทาอาการได้คือต้องพาไปอาบสารฟอกขาว ทาครีมสเตียรอยด์ และก็เอาปลาสเตอร์ชื้นๆแปะเป็นชั้นๆจนทำให้ทุกวันนี้ เวลาจะออกนอกชายคาบ้าน มอนโรต้องสวมชุดป้องกันแสงทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้าอย่างมิดชิดเป็นพิเศษ รวมไปทั้งทาครีมกันแดดและสวมแว่นตาดำด้วย
โรคแปลกๆเกิดขึ้นมากมาย คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจสุขภาพลูกรักให้มากๆนะคะ หากพบอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพลูกน้อยอย่าเก็บไว้คนเดียวแนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์โดยด่วน ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขไม่ได้ค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. โรคร้ายที่พบในเด็กแต่ละช่วงวัย ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจและรู้เท่าทันโรค
2. "โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก" ถึงอาการไม่รุนแรง...แต่ก็ไม่ควรละเลย
3. โรคหูชั้นกลางอักเสบภัยร้านใกล้ตัวที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team