เด็กศีรษะกระแทก ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยสูงสุด

14 December 2017
144923 view

เด็กศีรษะกระแทก






เด็กศีรษะกระแทกอันตรายหรือไม่

อุบัติเหตุวัยเด็กเล็กเกิดขึ้นได้บ่อยๆ โดยเฉพาะวัยเริ่มคลาน วัยหัดนั่ง ตั้งไข่ แม้กระทั่งวัยเดิน เพราะการทรงตัวของลูกยังไม่มั่นคง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศีรษะกระแทกพื้น ได้ง่ายๆ ส่งผลให้หัวโน หรือได้รับความกระทบกระเทือนต่อสมองซึ่งอันตรายมาก  คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์ และต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร ให้ปลอดภัย รายละเอียดตามนี้ค่ะ

เด็กศีรษะกระแทกรุนแรงต้องดูแลอย่างไร

ลูกหัวโน ปูดบวม เนื่องจากบริเวณศีรษะมีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก เมื่อกูกระแทกเข้าอย่างแรงจึงทำให้เส้นเลือดฝอยแตกมีเลือดค้างใต้ผิวหนังไม่อันตรายต่อสมอง การดูแลภายใน 24 ชั่วโมงแรกให้คุณแม่ประคบเย็น บริเวณที่ปูดโน การประคบเย็น ช่วยป้องกันเลือดออกใต้ผิวหนังเพิ่ม ลดอาการบวมลงได้  ถ้าหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ประคบร้อน  ความร้อนจะทำให้เลือดที่ออกได้ผิวหนังไหลเวียนได้ดีขึ้นและดูดซึมกลับ ทำให้อาการบวม ลดลง

ลูกศีรษะกระแทกรุนแรง และ มีเลือดออก  ให้ใช้ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือดประมาณ  10 นาที เมื่อเลือดหยุดไหล ล้างทำความสะอาดเเผลด้วยน้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ (Normal saline) จนสะอาดแล้วเช็ดรอบๆแผลด้วย 70% แอลกอฮอล์  หากไม่อยู่บริเวณใกล้ใบหน่าทาด้วยเบตาดีนอีกรอบ (ถ้าใกล้บริเวณใบหน้าห้ามใช้เบตาดีน ) กรณีแผลลึกมีเลือดไหลไม่หยุด ควรประคบเย็นและรีบนำลูกส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ลูกศีรษะกระแทกรุนแรงต้องสังเกตอาการทางสมอง เพื่อประเมินว่าสมองได้รับการกระทบกระเทือนหรือไม่ สิ่งที่คุณแม่ต้องสังเกตมี 4 ข้อดังนี้ 

4 อาการที่ต้องสังเกตเมื่อเด็กศีรษะกระแทก

  1. ซึมลง ดูดนมน้อยลง
  2. นอนมากขึ้น
  3. แขนขาอ่อนแรง หรือ แขนขาสองข้างมีแรงไม่เท่ากัน
    อาเจียนพุ่ง
  4. เด็กพูดรู้เรื่องลูกบ่นปวดศีรษะรุนแรง ในเด็กเล็กร้องไห้โยเยหากมีอาการดังกล่าวให้รีบพาลูกพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน  แพทย์จะได้ทำการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที

การป้องกันเด็กศีรษะกระแทก

การดูแลเด็กวัยเล็ก – 3 ปี ค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ สิ่งสำคัญ คุณแม่ต้องจัดสิ่งเเวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยด้วย ในวัยหัดคลานคุณแม่ควรหาแผ่นรองอเนกประสงค์ที่มีความหนานุ่ม เพื่อเป็นการกันกระเเทกและป้องกันการบาดเจ็บของลูกน้อยได้วัยหัดเดินควรฝึกให้ลูกเกินบริเวณสนามหญ้านุ่มๆ เพื่อป้องกันการหกล้มศีรษะกระแทกพื้น

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่  :

1.การดูแลเมื่อลูกชักจากไข้สูงและสิ่งที่ห้ามทำเมื่อลูกชัก

2. 15 สิ่งเล็กๆ ที่พ่อแม่ควรทำ เพื่อสื่อกับเบบี๋ว่า...พ่อแม่รักลูก

3. เขย่าเด็ก เชคเด็กไปมา อันตรายต่อสมอง พ่อแม่ต้องระวัง

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team