ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาลดน้ำมูก และยาแก้แพ้สำหรับเด็ก
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ เวลาพาลูกเป็นหวัด ไปหาหมอ หนึ่งในยาที่มักจะได้ คือ ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก คุณแม่อาจมีคำถามในใจว่า บางครั้งได้ยาลดน้ำมูกแบบง่วง บางครั้งได้แบบไม่ง่วง บางครั้งแพ้ ก็ให้ยาชนิดเดียวกับยาลดน้ำมูก สัปสนงงงวยไปหมด วันนี้ mama expert มีคำตอบจาก ผู้เชี่ยวชาญ พญ. กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่หายข้องใจ และสงสัยดังนี้ค่ะ
ยาแก้แพ้สำหรับเด็กแต่ละชนิด
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการน้ำมูกใสๆไหล เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ น้ำมูกไหลจากไข้หวัด หรือน้ำมูกไหลจากภูมิแพ้ ยาแก้แพ้ หรือยา แอนตี้ฮิสตามีน ( antihistamine ) ที่ใช้ลดน้ำมูก มีด้วยกันทั้งหมด 2 กลุ่ม
1. ยาแก้สำหรับเด็กแพ้แบบง่วง
เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine ) บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) สามารถใช้ลดน้ำมูกได้ทั้งจากไข้หวัดและภูมิแพ้ แต่มีข้อเสียคือ ต้องกินวันละหลายครั้ง แถมยังกินแล้วง่วง
2.ยาแก้แพ้สำหรับเด็กแบบไม่ง่วง
เป็นยากลุ่มใหม่ใช้รักษาภูมิแพ้ได้ดีกว่า มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายากลุ่มแรก
แต่ไม่ช่วยลดน้ำมูกจากไข้หวัด ยากลุ่มใหม่ ได้แก่ เซทิริซีน (cetirizine), เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine), ลอราทาดีน (loratadine) เป็นต้น
สรุปคือ จะเลือกใช้ยาตัวไหนนั้น ให้ดูว่าลูกเราเป็นภูมิแพ้ด้วยหรือไม่ ถ้าลูกเป้นภูมิแพ้ด้วย เป็นแนะนำให้กินยากลุ่มที่ 2 หรือยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง แต่ถ้าไม่เป็น หรือเป็นแค่หวัดธรรมดา แนะนำเลือกยากลุ่มแรก หรือล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก และที่สำคัญ ควรเน้นให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ อาการหวัดจะดีขึ้น และสามารถหายไปได้เองใน 3-4 วัน เมื่อทราบแล้ว คุณพ่อคุณแม่เลือดใช้ให้ถูกและใช้ตามคำแนะนำของเเพทย์ เภสัชกรอย่างเคร่งครัดนะคะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว ไข้ลดเร็ว2เท่า
2.9วิธีลดไข้เด็กได้ผลสุดปัง ไข้ลดจริง ถูกใจแม่
3.การดูแลเพื่อป้องกันลูกชักจากไข้สูง
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูล : พญ. กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ. เข้าถึงได้จาก Hormone for Kids by Dr.OrN