นมแพะดีไหมเด็กนมแพะพัฒนาการและนำหนักเท่าไหร่แม่ต้องอ่าน !!!

21 December 2017
11236 view

นมแพะ

แพะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีกระบวนการผลิตน้ำนมใกล้เคียงกับมนุษย์ ในต่างประเทศนิยมบริโภคนมแพะเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง  แต่ถึงย่างไรยังไม่มีนมชนิดไหนสามารถเทียบเท่าหรือทดแทนนมแม่ได้ นมแพะเป็นที่นิยมของคุณแม่ยุคปัจจุบันเพราะอะไร Mamaexpert มีคำตอบในทุกๆคำถาม มาฝากคุณแม่ทุกบ้านดังนี้ 

นมแพะดีจริงใหม่ 

นมดีดีจริงแต่นมแม่ดีที่สุด ...  คุณแม่ต้องยอมรับในจุดที่ว่า เด็กแต่ละคนรับนมหรือตอบสนอต่อนมชนิดต่างๆ แต่ละยี่ห้อได้แตกต่างกัน ทั้นี้ขึ้นอยู่หลายองค์ประกอบเช่น

  • สุขภาพในเด็กที่เป้นภูมิแพ้ แพ้นมนวัวง่าย ใช่ว่าจะไม่แพ้นมแพะ
  • การย่อยและการดูดซึมของเด็กแต่ละคน จึงมีเด็กบางคนที่ดื่มนมแพะแล้วท้องอืด ถ่ายลำบาก
  • แต่ส่วนใหญ่แล้ว เด็กที่ดื่มนมแพะถ่ายคล่องท้องไม่อืด

นมแพะมีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่หรือไม่ 

ในนมแพะจะมีปริมาณโปรตีนก่อแพ้หรือเบต้าแลคโตกลอบบูลินน้อยกว่านมวัวถึง 3 เท่า การดื่มนมแพะจึงมีโอกาส เกิดภูมิแพ้น้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมวัว แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่แพ้แพ้ได้เช่นกัน  เบต้าแลคโตกลอบบูลิน คือ โปรตีนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้นมวัว ร่างกายย่อยได้ยาก จึงเหลือตกค้างอยู่ใน ลำไส้กลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมาในลักษณะต่างๆ

นมแพะมีโปรตีนสูงกว่านมแม่จริงใหม่ 

จริงค่ะ ... นมแพะและนมว่วมีปริมาณโปรตีนสูงกว่านมแม่ถึง3เท่า แต่ในน้ำนมแม่มีปริมาณโปรตีนเทียบเท่าที่ลูกต้องการ ไม่ได้หมายความว่า โปรตีนสูงกว่าจะดีกว่า  ดื่มนมที่มีโปรตีนสูงกว่า ไตทำงานสูงเช่นกัน แต่ข้อดีของโปรตีนในนมแพะคือ เป็น  CPP (Casein Phosphopeptides) คือ โปรตีนนุ่ม ในนมแพะมีลักษณะที่นุ่ม ย่อยง่าย ช่วยในการดูดซึม เกลือแร่ต่างๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และโปรตีนในนมแพะยังเป็นโปรตีนคุณภาพดีที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

นมแพะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อทารกครบถ้วนไหม

มีครบถ้วนค่ะ ....  สารอาหารที่ทารกและเด็กต้องการในนมแพะมีดังนี้ 

  • ดีเอชเอ เออาร์เอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยพัฒนาสมองและการมองเห็น
  •  โอเมก้า 3, 6 และ 9 ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง
  •  โคลีน มีบทบาทในการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาท ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความจำ
  •  วิตามิน B12 สูง มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
  •  แคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
  •  ทอรีน ช่วยพัฒนาการทำงานของจอประสาทตา

ซึ่งสารอาหารข้างต้น มีในนมแม่และนมวัวเช่นกัน 

ดื่มนมแพะ แล้วไม่แพ้จริหรือไม่ 

ไม่จริงค่ะ  เด็กดื่มนมแม่ นมแพะ นมวัว มีโอกาศแพ้ได้ทั้งนั้น การแพ้ที่ว่านั้นเกิดจากร่างกายของเด็กแพ้โปรตีนในน้ำนม อัตราการแพ้นมแม่แทบจะไม่มี นมแพะแพ้น้อยกว่า นมวัว ปัจจุบันพบว่าสถิติการแพ้นมวัวในเด็กสูงขึ้น อาจเนื่องมากจาก ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนจากนมวัวสูงลูกจึงแพ้โปรตีนเหล่านั้น  นมแพะพบว่ามีสารก่อแพ้น้อยกว่านมวัว คือ ในนมแพะจะมีปริมาณโปรตีนก่อแพ้หรือเบต้าแลคโตกลอบบูลินน้อยกว่านมวัวถึง 3 เท่า การดื่มนมแพะจึงมีโอกาส เกิดภูมิแพ้น้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมวัว เบต้าแลคโตกลอบบูลิน คือ โปรตีนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้นมวัว ร่างกายย่อยได้ยาก จึงเหลือตกค้างอยู่ใน ลำไส้กลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมาในลักษณะต่างๆ

นมแพะมีแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และเหล็กสูงกว่านมแม่จริงไหม

จริงค่ะ  แต่คุณแม่นมแม่อย่าได้กังวล เพราะการดูดซึมแกต่างกัน  ในนมแม่มีปริมาณที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับนมผงดัดแปลง แต่แร่ธาตุเหล่านี้ในนมแม่สามารถดูดซึมได้ถึง 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากแร่ธาตุสังเคราะห์ในนมผง ที่สามารถดูดซึมได้เพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เด็กกินนมแพะน้ำหนักดีกว่านมแม่จริงไหม 

ไม่จริงเสมอไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางพันธุกรรมของเด็กคนนั้นๆด้วย เช่น พ่อแม่เป็นคนอ้วน พ่อแม่ตัวโต เด็กย่อมได้รับส่วนนั้นมาเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วเด็กดื่มนมแพะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นเด็กป่วย เพราะ นมแพะมีไขมัน MCT Oil ตามธรรมชาติ MCT Oil เป็นไขมันสายโซ่ปานกลาง (Medium Chain Triglycerides) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ากรดไขมันในนมวัว จึง ย่อยได้ง่าย ร่างกายลูกน้อยดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีน้ำหนักตัวเหมาะสมตามวัย

นมแพะมีข้อเสียไหม 

นมทุกชนิดมีข้อเสียยกเว้นนมแม่ ข้อเสียของนมแพะก็มีเช่นกันคือ มีราคาสูงเมื่อเทียบกับนมถ่ั่ว และนมวัว นมแพะมีสารก่อแพ้เช่นกัน เด็กบางคนแพ้นมแพะได้แต่อาจมีสถิติที่น้อยกว่าแพ้นมวัว 

วันนี้คุณแม่แต่ละบ้านได้ทราบข้อดีข้อเสีย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกัยนมแพะแล้ว คงเป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้แล้วว่า ควรให้ลูกดื่มนมอะไรดี Mamaexpert สนับสนุนให้คุณแม่ทุกบ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย6เดือน และเริ่มอาหารเสริมหลัง6เดือน เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย 

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team