ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก และอาหารที่ห้ามรับประทานในเด็กที่เป็นโรค G6PD

08 December 2011
69049 view

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก

ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency)เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านยีน(gene) X โดยมีการแสดงออกแบบยีนด้อย (X-linked recessive) โรคนี้จึงแสดงอาการในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความรู้จัก เพื่อป้องกันและรักษาเมื่อเกิดขึ้นกับลูกน้อยของตนเอง ดังนี้..

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก คืออะไร

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD  ( G – 6 – PD Deficiency ) คือ การมีระดับของเอนไซม์ G6PD ต่ำกว่าคนปกติ เอนไซม์ ชนิดนี้พบได้ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เม็กเลือแดงแตกง่าย โดยปกติเม็ดเลือดแดงของคนเราจะมีอายุ 120วัน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้ หากได้รับยาบางอย่างหรือเป็นข้อห้ามรับประทานถั่วปากอ้า หรือแม้กระทั่งเจ็บป่วยมีไข้ ยา อาหาร หรือการติดเชื้อ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดง แตก และทำให้เกิดภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย ตา ตัวเหลืองได้

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก มีสาเหตุเกิดจาก

สาเหตุของการพร่องเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโครโมโซมเพศชนิดโครโมโซมเอ็กซ์ มีการถ่ายทอดยีน G6PD เป็นแบบ X-linked recessive จากมารดาโดยมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก มีอาการอย่างไร

อาการที่พบบ่อยที่สุด คือจะพบได้ในเด็กทารกอายุ 1-4 วัน ที่มีภาวะซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกอย่างฉับพลัน โดยในเด็กทารกจะพบว่ามีอาการดีซ่านที่ยาวนานผิดปกติ ส่วนในผู้ใหญ่นั้นจะพบว่า ปัสสาวะมีสีดำ ถ่ายปัสสาวะน้อยจนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การควบคุมสมดุลของ Electrolytes (สารเกลือแร่ต่างๆในร่างกาย) ของร่างกายเสียไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง 

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

  1. ในทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง หลังคลอดที่มีระดับสารเหลืองเกินปกติจะต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ เพื่อ ให้แสงไฟทำปฏิกิริยากับสารเหลืองที่อยู่ในบริเวณผิวหนัง กลายเป็น สารชนิดที่สามารถขับออกจากร่างกายได้ โดยสารเหลืองดังกล่าวจะขับออกมาจากปัสสาวะ อุจจาระของ ทารกก็จะมีระดับสารเหลืองที่ลดลง จนอยู่ในระดับปลอดภัยสามารถกลับบ้านได้
  2. การดูแลทารกที่มีภาวะพร่องหรือขาดเอนไซม์ G6PD ดูแลทั่วไปเหมือนทารกปกติ สามารถดื่มนมแม่ได้แต่ มียาต้องห้ามและอาหารต้องห้ามเฉพาะโรคที่คุณแม่ควรเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งมักเป็นยาที่ไม่ได้ใช้กับทารกอยู่แล้ว
  3. คุณแม่ต้องติดตามอาการและอาการแสดงอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกจะเหมือนคนปกติทั่วๆไป จะเเสดงอาการก็ต่อเมื่อ ได้รับยาหรืออาหารต้องห้ามก็จะเกิดภาวะซีด ตัวเหลือง ตาเหลืองฉับพลัน ปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีโค๊ก หากซีดมาก จะมีอาการเหนื่อยจนต้องได้รับเลือด
  4. คุณแม่ที่มีลูกน้อยพร่องG6PD จะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญัในการรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นแล้ว หากมีโอกาสตองเข้ารับการรักษาหรือต้องได้รับยา จะต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ให้ทราบทุกครั้ง ว่ามีภาวะผิดปกติของภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
  5. คุณแม่พกบัติผู้ป่วยพร่องG6PD ทางโรงพยาบาลจะออกให้เมื่อตรวจพบ

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก ควรหลีกเลี่ยงอาหารและยาประเภทใด

  1. แอสไพริน
  2. คลอแรมเฟนคอล
  3. คลอโรควีน
  4. ซิโปรฟลอกซาซิน
  5. ลีโวฟลอกวาซิน
  6. แดปโซนฃ
  7. เมฟโฟลลควิน
  8. เมนทอล
  9. เมทิลีน บลู
  10. แนพทาลีน
  11. ไนโตรฟูแลนดตอิน
  12. ไพรมาควิน
  13. ยากลุ่มซัลฟา
  14. ถั่วปากอ้า

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ไม่ได้ร้ายแรง สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ แต่คุณแม่อย่าลืมเรื่องเมนูอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงและการใช้ยาต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก แค่นี้ลูกน้อยก็ปลอดภัยหายห่วงแล้วค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่

1. โรคอันตรายในเด็ก
2. โรคโลหิตจางในเด็ก
3. โรคร้ายในเด็กแต่ละช่วงวัย

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert  Editorial Team